Wednesday, December 13, 2006

Long Life Empowerment (Hua Hin, Thailand)



มูลนิธิพันดารา

ขอเชิญเข้าร่วมพิธีมนตราภิเษก
พระอมิตายุสพุทธเจ้า
เพื่อความมีอายุยืนยาว

(Long Life Empowerment)

พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี:
แมงเกีย ลาเซ ริมโปเช



ผู้แปล: รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2549
ไร่รักธรรมะ-ชาติ ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์

แจ้งความจำนงได้ที่ รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ หรือนางอารีรัตน์ ศิริคูณ
โทร 081-343-1586 โทรสาร 02-2184755, 02-5285308
E-mail: krisadawan@thousand-stars.org หรือ areeratana@thousand-stars.org

พระพุทธเจ้าอมิตายุสทรงเป็นสัมโภคกาย หรือกายอันรื่นรมย์ของพระพุทธเจ้าอมิตาภะ ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแห่งความมีอายุยืนยาว สถิตอยู่ ณ แดนพุทธเกษตรสุขาวดี พรของพระองค์ได้แก่การที่เรามีอายุยืนยาว เพื่อที่จะได้มีเวลาในชีวิตมากขึ้นในการปฏิบัติธรรม และสั่งสมบุญกุศลอันจะเป็นเหตุให้เราได้มีโอกาสได้ทำงานเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ได้มากยิ่งขึ้น พระองค์ทรงถือคณโฑน้ำอมฤต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว การเข้าร่วมพิธีนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมพิธีมีอายุยืนยาวมากขึ้น ตราบเท่ากับอายุขัยของตนเอง

พระอาจารย์ผุ้ประกอบพิธี ได้แก่แมงเกีย ลาเซ ริมโปเช เป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของพระพุทธศาสนาในทิเบต ริมโปเชเป็นพระอาจารย์ในสายซกเช็น ซึ่งเน้นที่การเข้าถึงสภาพเดิมแท้ของใจที่ใสกระจ่าง ปราศจากการปรุงแต่งใดๆ ลาเซ ริมโปเชได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อมาให้พรแก่ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณ อันเป็นพื้นที่ที่มูลนิธิพันดารามีโครงการจะสร้างสถูป รวมทั้งห้องสมุดและสถานปฏิบัติธรรมตามแบบของพระพุทธศาสนาวัชรยาน มูลนิธิพันดารารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ลาเซ ริมโปเชได้มีเมตตา ประกอบพิธีมนตราภิเษกเพื่อมีอายุยืนในครั้งนี้ เนื่องจากท่านเป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติที่ไม่สนใจเรื่องการสอนให้แก่คนหมู่มาก แต่ท่านก็เห็นความมีศรัทธากับความรักเคารพในครูอาจารย์ของคนไทย และประทับใจคนไทยกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ท่านจึงยินดีประกอบพิธีมนตราภิเษกในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นโชคดีของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

Sunday, December 03, 2006

Deadline Extended!

Due to popular demand, the deadline of submission of abstracts for the Eighth Asian Bioethics Conference has been moved to December 31, 2006. Please send your abstracts by then, if you have not done so already.

Sunday, November 26, 2006

Deadline Approaching!

The deadline for submission of abstracts for the Eighth Asian Bioethics Conference is fast approaching. Please note that the deadline is November 30.

Friday, November 17, 2006

Podcast พันดารา

กลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มูลนิธิพันดารา ได้จัดทำ เว็บไซต์ ใหม่ขึ้น เพื่อนำเสนอ podcast ที่รวมไฟล์เสียงที่อัดจากการบรรยายต่างๆของกลุ่มฯ ครั้งแรกนี้เป็นการบรรยายเรื่อง "Dharmodynamics" ของ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ สถาบันสหสวรรษ

Human security focused on biomedical ethics

Announcement

THE TAMILNADU DR AMBEDKAR LAW UNIVERSITY, Department of Constitutional Law and Human Rights, PG Departments of Law headed by Prof. Dr. Manohar and the Centre for Security Analysis will set up an International Roundtable on the 29th of November 2006 in the Seminar Hall of the Centre, Egmore Chennai, time 3 pm.

The title of the round table: Human security focused on biomedical ethics. Several different topics will be discussed e.g. status of an embryo, stem cell research.

Invited participants from Europe: Prof. Dr. Dr. Cosimo Marco Mazzoni (Italy), Dr. Dr. Brigitte Jansen (Germany), confirmed.

From India: Dr. Michael Aruldas, Dr. Jayaraman Dr. Aruna Sivagami from University of Madras

Professors and scientists from Medical University; Dr. Geetha Madhavan and other members of CSA from the sponsoring organisation.;Hon. Dr. SSP. Darwesh, Vice Chancellor, Law University being the guest of Honour.

Also the interesting public is invited to participate free of charge. The space is limited. If you want to participate, please be so kind to send your request with your name, position and your working field to profmanohar@yahoo.com.

Friday, November 10, 2006

ข่าวจากวิทยาลัยสาธารณสุข จุฬาฯ

เรียน รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์


ดิฉันเป็นผู้ประสานงานโครงการจัดสัมมนา เรื่อง เสรีการค้ากับสุขภาพ: มุมมองสาธารณสุข (Trade and Health: The Public Health View Point โดย ดร. วไลกัญญา พลาศรัย เป็นผู้บริหารโครงการนี้ ในนามของวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร. วไลกัญญา พลาศรัย ขอความอนุเคราะห์จากท่านช่วยประชาสัมพันธ์ การจัดสัมมนาเรื่อง เสรีการค้ากับสุขภาพ: มุมมองสาธารณสุข (Trade and Health: The Public Health View Point) ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2549 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบถึงความก้าวหน้าและทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าเสรีกับระบบบริการสุขภาพและสาธารณสุข ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาองค์กรต่อไป

การนี้ วิทยาลัยฯ ใคร่ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การสัมมนาดังกล่าว โดยมีรายละเอียดระบุในเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ดังแนบมาด้วย

หากท่านสนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติ่ม กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ นางสาวดาวนภา เมธาธีระนันท์ โทร. 02-218-8194 และสามารถ download ใบสมัครได้ที่ www.cph.chula.ac.th

Wednesday, November 08, 2006

Deadline Extended!

The deadline for submission of the 3rd Asia-Pacific Computing and Philosophy conference at University of Philippines, Diliman, the Philippines has been extended. Abstracts are being called in all areas of computing and philosophy, and the new deadline is December 15, 2006. Please see the website for more information.

Tuesday, November 07, 2006

การฝึกสมาธิถึงพระอวโลกิเตศวร

มูลนิธิพันดารา

ขอเชิญผู้สนใจเข้าอบรมกรรมฐาน

“การฝึกสมาธิถึงพระอวโลกิเตศวรและการบ่มเพาะความกรุณาในชีวิตประจำวัน”
(Lecture and Meditation on Chenrezig and How to Cultivate Compassion in Everyday Life)


ผู้อบรม: กุงกา ซังโบ ริมโปเช (Ven. Kunga Sangbo Rinpoche)
(เจ้าอาวาส วัดเจคุนโด ทิเบตตะวันออก และวัดต้าชี่กง นครลาซา ภูมิภาคปกครองตนเองของทิเบต)
อบรมเป็นภาษาทิเบต แปลเป็นภาษาไทยและสรุปความเป็นภาษาอังกฤษ

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2549
เวลา 9.00-16.00 น.
ไร่รักธรรมะ-ชาติ
ถนนหัวหิน-ป่าละอู ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์
ค่าลงทะเบียน 100 บาท (มีอาหารมังสวิรัติและอาหารว่างแบบง่ายๆบริการ)
สำรองที่นั่งที่ อารีรัตน์ ศิริคุณ โทร. 081-6481195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ โทรสาร 02-5285308 Email: krisadawan@thousand-stars.org

พระอวโลกิเตศวรทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์แห่งความกรุณา ทรงเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในทิเบตและจีน คนไทยรู้จักพระองค์ด้วยพระนาม “พระโพธิสัตว์กวนอิม” ซึ่งเราได้รับมาจากพระพุทธศาสนามหายานจากฝ่ายจีน คนทิเบตขนานนามพระองค์ว่า “เชนเรซี” พระผู้ทอดพระเนตรสัตว์ทั้งหลายไปทั่วทุกทิศด้วยความกรุณา ธารณีหกพยางค์ของพระองค์ “โอม มณี ปัทเม หูม” หรือออกเสียงภาษาทิเบตว่า “โอม มานี เปเม ฮุง” เป็นธารณีที่ติดปากชาวทิเบตทุกคนไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร ธารณีนี้ให้อานิสงส์มหาศาลหากผู้สวดมีศรัทธาต่อพระองค์อย่างแน่วแน่และมีความกรุณาต่อสรรพสัตว์อย่างจริงใจ
ในยุคสมัยที่มนุษย์เข่นฆ่ากัน เบียดเบียนสัตว์เดรัจฉานแม้แต่สัตว์เล็กๆ เช่น มด แมลง ด้วยความเห็นแก่ตัว ริษยาหรือมีโทสะต่อกันจนไปถึงขั้นทำลายล้าง ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการบ่มเพาะความกรุณา ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของความกรุณาเช่นนี้ มูลนิธิพันดาราจึงได้จัดอบรมกรรมฐานนี้เพื่อให้คนไทยได้รู้วิธีนั่งสมาธิถึงพระอวโลกิเตศวร รู้วิธีบ่มเพาะความกรุณาในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะทำการงานสิ่งใด หลังการอบรม พระอาจารย์กุงกา ซังโบ ริมโปเชจะประกอบพิธีมนตราภิเษกพระอวโลกิเตศวร เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับพรและได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในการปฏิบัติบูชาพระองค์เพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์
มูลนิธิจะจัดงานนี้ที่สถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีความสงบเงียบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เป็นสถานที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติและมีดอกไม้บานสะพรั่งเพื่อเยียวยาความเหนื่อยล้าของจิตที่หมกมุ่นกับการทำงานและการดำรงชีวิตทางโลก สถานที่นี้ชื่อว่า “ไร่รักธรรมะ-ชาติ” ซึ่งอยู่ตรงข้ามถนนกับ “ภัทรกัลป์ตาราขทิรวัณ” ป่าขทิระแห่งพระแม่ตาราในกัลป์อันประเสริฐ อันเป็นสถานปฏิบัติธรรมของมูลนิธิพันดารา สถานปฏิบัติธรรมนี้กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและการหาทุนทรัพย์ รายละเอียดและกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิ อ่านได้จาก http://www.thousand-stars.org/

หมายเหตุ

- โปรดนำเบาะนั่งสมาธิมาด้วย
- ทางมูลนิธิไม่สามารถให้บริการรถเดินทางได้ ใคร่ขอให้ผู้สนใจหารถมาเอง หากใครพักค้างคืนที่หัวหิน มีรถสองแถวจากตลาดหัวหินมาป่าละอู ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาทีจะถึงไร่รักธรรมะ-ชาติ เมื่อลงจากรถแล้ว เดินเข้าไปตามทางประมาณ 500 เมตร

การประชุม "กายกับใจ"

การประชุมนานาชาติเรื่อง “กายกับใจ: มุมมองจากวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณ” (Body and Mind: Science and Spirituality Perspectives) ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2549 ระหว่างเวลา 9.00 - 17.00 น. ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมในหัวข้อดังกล่าวครั้งแรกของประเทศไทย ผู้ที่มูลนิธิเชิญให้มาเป็นองค์ปาฐกล้วนแต่เป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียง หลายคนเป็นพระอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือในสายการปฏิบัติธรรมของท่าน ในการประชุมดังกล่าว มูลนิธิยังได้รับเกียรติจาก Dr. William Grassie อดีตผู้อำนวยการสถาบัน Metanexus ในสหรัฐอเมริกามาบรรยายเรื่องการประสานกันของความเป็นสมัยใหม่กับจิตวิญญาณอันเป็นมุมมองสำคัญยิ่งในโลกปัจจุบัน มุมมองนี้วางรากฐานให้เราใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างมั่นคง ด้วยหัวใจอ่อนโยน ด้วยความรักธรรมชาติและจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน

การประชุมกายกับใจนี้เป็นก้าวหัวใจของมูลนิธิในการนำองค์ความรู้ของมนุษยชาติมาเผยแพร่ในประเทศไทย หัวข้อของบทความที่จะนำเสนอมีหลากหลาย อาทิ การนั่งสมาธิกับสมอง บทบาทของการนั่งสมาธิกับการรักษาโรค ความฉลาดทางจิตวิญญาณ (spiritual intelligence) จิตวิญญาณกับการศึกษา หลากหลายแง่มุมของโยคะ ปรัชญาพุทธกับความเป็นผู้นำ ธรรมพลศาสตร์ การบำบัดโรคมะเร็งด้วยจิต และอื่นๆ นอกจากประเด็นทางศาสนาพุทธ (ทั้งเถรวาทและมหายาน) การประชุมจะเสนอมุมมองของศาสนาและประเพณีทางจิตวิญญาณแบบอื่นด้วย

จุดเด่นของงาน

- การสวดมนตร์เพื่อสันติภาพตอนเริ่มและปิดงาน
- การเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณ
- การนั่งสมาธิกับกระบวนการทางสมอง
- ดนตรีเพื่อการบำบัด
- พุทธศาสนา ทั้งเถรวาทและมหายาน (วัชรยาน) จากหลากหลายแง่มุม
- โยคะ ตอบคำถามว่าโยคะรักษาโรคได้อย่างไร
- การนำสมาธิมาแก้ปัญหาของคนอ้วน (ไม่สามารถหยุดกินได้)
- "ความฉลาดทางจิตวิญญาณ" และการนำจิตวิญญาณมาใช้ในแวดวงการศึกษา
- การบำบัดด้วยจิต เอดส์กับพุทธศาสนา จิตวิญญาณกับเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางทางจิตวิญญาณแบบต่างๆในการประสานระหว่างกายกับใจ

Friday, November 03, 2006

Public Talk by Charles Ess

The Center for Information Policy Research, School of Information Studies, University of Wisconsin-Milwaukee, is pleased to announce Dr. Charles Ess, Distinguished Research Professor of Interdisciplinary Studies, Drury University will lecture on “An Impending Global ICE Age?: East-West Perspectives on Information and Computer Ethics,” as part of his 2006-07 CIPR Information Ethics Fellowship.

A prominent philosopher and information ethics scholar, Dr. Ess is Co-chair, CATaC conferences, Vice-President, Association of Internet Researchers, and Professor II, Globalization and Applied Ethics Programmes, Norwegian University of Science and Technology. He has published extensively in the areas of History of Philosophy, Ethics, Culture, Technology, Computer-Mediated Communication, and Online research ethics.

Dr. Ess was selected as a CIPR Information Ethics Fellow to honor his prestigious contributions to the field of information and computer ethics, and in particular, his work on East-West perspectives on ethics.

While in residence at the CIPR, Dr. Ess will also lecture to SOIS graduate students on different cultural values and communicative preferences and their impact on effective web design. Dr. Ess’s work will be highlighted in the CIPR Occasional Papers, available at http://www.uwm.edu/Dept/SOIS/cipr/research_papers.html

Please join us Monday, November 13, 2006, 11:30, Bolton Hall, 521, University of Wisconsin Milwaukee campus. The lecture is also available via live video stream at http://www.uwm.edu/Dept/SOIS/cipr/index.html

Thursday, November 02, 2006

Bon and Dzogchen: Towards Enlightened Mind from the Tibetan Perspective




The Thousand Stars Foundation


and the Center for Ethics of Science and Technology, Chulalongkorn University

cordially invite the members of the public to a special lecture on

“Bon and Dzogchen: Towards Enlightened Mind from the Tibetan Perspective”

by

Latri Geshe Nyima Dakpa Rinpoche
(Menri Monastery in northern India, the Mother Monastery of Bon
and the founder of Bon Children’s Home)

Wednesday, December 6, 2006
Room 105, Maha Chulalongkorn Bldg., Chulalongkorn University

Dzogchen is Tibetan for ‘Great Perfection.’ The term refers to a teaching that enables one to realize Buddhahood which is a quality that is inherent in the minds of humans and other sentient beings. Although the teaching originated in Tibet and has been transmitted continuously there, it is universal and is above labeling and differentiation. The teaching’s essence lies in the emphasis for the practitioner to become aware of the present moment at all times. Dzogcehn has been disseminated both by Bon and Nyingma practitioners of Buddhism in Tibet.

Program

16.30 - 17.00 Reception
17.00 - 17.10 Opening Speech
17.10 - 19.00 Lecture on “Bon and Dzogchen: Towards Enlightened Mind from the Tibetan Perspective” (in English)


This lecture is part of the international conference on “Body and Mind: Science and Spirituality Perspectives”, which is supported by the Local Societies Initiative, Metanexus Institute. The event is free of charge and participants are invited to the reception. Interested persons should contact Dr. Krisadawan Hongladarom at krisadawan@thousand-stars.org, or fax 02 218 4695 to reserve their seats.

http://www.thousand-stars.org/

Wednesday, November 01, 2006

What is 'Dharmodynamics'?

DHARMODYNAMICS
The Fusion of Modern Science and Eastern Religions

by Vuthipong Preabjariyavat

The search for the ‘ultimate reality’ seems to have been the epitome of intellectual and spiritual pursuit of humankind since time immemorial. So far, those who embark on such a journey generally have to choose between the two roads: scientific or metaphysical. Dharmodynamics is an attempt to merge these traditionally two separate paths into one.

On the one hand, it retells and explains some of the most fascinating scientific concepts from a metaphysical perspective based on four major eastern religions, namely Hinduism, Buddhism, Jainism, and Taoism. The topics discussed are wide-ranging and include, for example, the big bang, the big crunch, the cosmos, black holes, quarks, the Theory of Everything, thermodynamics, entropy, DNA, chromosomes, life, evolution, Darwinism and the human mind.

Conversely, several main religious and metaphysical concepts --ranging from soul, heaven, hell, ghosts, demons, angels, karma, the karmic law, reincarnation, samsara (cycle of rebirth), nirvana, tao, moksha, dharma (nature) and the dharmic law-- are reformulated using scientific conceptual framework.
This unique effort to stitch patches of scientific knowledge with eastern religious concepts and metaphysics into seamless whole, resulting in an integrated body of knowledge which encompasses and transcends science as we now know it, is how 'dharmodynamics' is defined.

Monday, October 16, 2006

รายละเอียดเกี่ยวกับ "Dharmodynamics"

จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=zol&group=7&month=12-2005&date=24&blog=1

ธัมโมไดนามิกส์ (Dharmodynamics)

อากาศเย็นๆ ไม่อยากออกไปไหน 2-3 วันนี้ก็อ่านโน่นอ่านนี่ไปเรื่อยครับ เมื่อตะกี้ก็เพิ่งอ่านหนังสืออ่านเล่นสนุกๆชื่อ DHARMODYNAMICS จบ ผู้เขียนหนังสือชื่อแปลกๆเล่มนี้คือ Dr. Vuthiphong Priebjrivat

Dharmodynamics เป็นหนังสือที่พยายามรวมความเห็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ากับศาสนาประเทศตะวันออก ดังนั้นในแง่ของสาระที่อยู่ภายในแล้วเล่มนี้ไม่ใช่เล่มแรกที่มีการเขียนเรื่องแบบนี้ แต่สำหรับผมเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่อ่านง่ายและภาพประกอบสวยงามดีมากครับ (ดูใน Acknowledgments แล้วชื่นชมคุณ Denchai และคุณ Sanit ด้านความสามารถการวาดรูปและสร้างสรรค์รูปน่ารักๆเป็นพิเศษ)

คำว่า Dharmodynamics เป็นคำที่ผู้เขียนประดิษฐ์ขึ้นมา เขาบอกว่ามีความหมายเดียวกับกฏธรรมชาติ (law of dharma) ชื่อเรื่องนี้ทำให้ผมคิดอยู่พักใหญ่เหมือนกันครับ ว่าทำไมไม่เป็น Dharmadynamics หรือต้องการจะให้เสียงใกล้เคียงกับ Thermodynamics

เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็น 6 บท บทแรกพูดถึงธรรม โดยเริ่มจากทฤษฎีบิกแบง (Bigbang) พูดภาพรวมของจักรวาลวิทยาและไปจบที่ทฤษฎีสำหรับทุกสิ่ง (Theory of Everything) ผู้เขียนได้สร้างแนวคิด Vivergy (พลังชีวิต - the force of life) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 องค์ประกอบของธรรมชาติที่นอกเหนือไปจาก สสาร และ พลังงาน โดยขยาย Grand Unified Theory ที่พยายามรวมแรงในเอกภพว่าแท้ที่จริงก็มีต้นกำเนิดมาจาก vivergy ซึ่งจุดนี้ผมคิดว่าคล้ายกับกลุ่มที่ยอมรับ Anthropic principle แต่การนิยาม vivergy นี้ทำให้ผมงงมากที่สุดเมื่ออ่านไปถึงบทที่ 6 Nirvana เพราะมีรูปหนึ่งที่อธิบายลักษณะของ vivergy ว่า "ไม่" อนิจจัง (คือนิจจัง), "ไม่" ทุกขัง (คือสุข) และ อนัตตา การสรุปแบบนี้เท่ากับบอกว่า vivergy ก็คือ นิพพาน เมื่อย้อนกลับมาดูบทแรกอีกทีก็เท่ากับว่า gravity, weak nuclear, electromagnetic, strong nuclear ฯลฯ มาจากนิพพาน!!! ซึ่งเท่ากับว่ามันจะย้อนไปขัดแย้งกันเองกับ "สามัญลักษณะ" จุดนี้เป็นจุดหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วยในหนังสือเล่มนี้ (แต่ผมคงบอกว่าความเห็นใครถูกใครผิดไม่ได้นะครับ คุณๆต้องอ่านแล้วศึกษาและตัดสินด้วยตัวคุณเอง)

ที่จริงมันก็เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับหนังสือประเภทนี้ที่คนอ่านจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย อย่างไรผมก็ยังชื่นชมและยินดีที่ได้อ่าน Dharmodymics อยู่ดี

สำหรับบทแรกมีประเด็นที่น่าสนใจอีก 1 จุด คือ ตัวทฤษฎีบิกแบงเองก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์จากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น Quasi Steady State Universe หรือ little bang

มาถึงบทที่ 2 เนื้อหาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา บทนี้พูดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเอกภพ วัฏจักรของเอกภพ หรือ การเกิด Big-bang และ Big-crunch สลับกัน หลุมดำ และพหุภพ (เอกภพหลายๆเอกภพ) เช่นเดียวกับ Big-bang การเกิด Big-crunch ยิ่งไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์แพร่หลาย เพราะอาจจะเกิด little-crunch อย่างกรณี quasi steady state universe หรือเอกภพอาจจะขยายตัวตลอดกาลและตายในความมืด ด้วยอำนาจของ dark energy ซึ่งทำหน้าที่ anti-gravitation ก็ได้

บทที่ 3 พูดถึงเรื่องชีวิต วิวัฒนาการในแง่มุมเชิงชีววิทยา นิยามของชีวิต ดีเอ็นเอ และกรรม โดยแนวคิดทั้งหมดอิงอยู่กับ vivergy ผู้เขียนได้แสดงความเห็นว่า simple life form เกิดจากการประกอบรวมกันของ สสาร พลังงาน และ vivergy ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน ก็เกิดจากรูปแบบสิ่งมีชีวิตพื้นฐานผนวกกับองค์ประกอบ 3 ส่วนนั้นทับซ้ำขึ้นอีก

ผมลองมองจุดนี้ย้อนในมุมพระพุทธศาสนานะครับ (ต้องขออนุญาตทำความเข้าใจอีกทีว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่เพราะคัดค้านเพื่อหาข้อสรุป "ผิดถูก" แต่พยายามชี้ประเด็นเผื่อว่าคุณๆอยากอ่านแล้วจะนำไปพิจารณาค้นคว้าต่อไป), ชีวิต ในทางพุทธศาสนามี 2 ส่วน คือ รูป กับ นาม, ธรรม ก็มี 2 ส่วน คือ รูป กับ นาม, สสารและพลังงาน เป็น รูป ทำให้เทียบได้ว่า vivergy เป็น นาม และนามที่เป็นองค์ประกอบของชีวิตเป็นนามในกลุ่มที่เราเรียกว่า "สังขตธรรม" จากจุดนี้ถ้าเราจะมองเอาภาพรวมของ vivergy จากที่ผู้เขียนๆ ผมคงสรุปได้ว่า vivergy ได้รวบหัวรวบหางเอานามทั้งที่เป็นสังขตธรรมและอสังขตธรรมมาไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน

บทที่ 4 พูดถึงเรื่องมนุษย์โดยเฉพาะ วิวัฒนาการ อารยธรรมในด้านต่างๆ บทนี้ค่อนข้างยาวกว่าบทอื่น และเขียนได้ชวนติดตาม อ่านเพลินมาก ไม่เน้นศัพท์แสงวิชาการเกินไป บทที่ 5 เรื่องกรรม และบทที่ 6 เรื่องนิพพาน 2 บทหลังนี้มีประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยพอสมควร เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่จะว่าสำคัญก็สำคัญ (อาจจะหยิบมาคุยต่อวันหลังแล้วแต่อารมณ์ วันนี้ขี้เกียจแล้วครับ) แต่ภาพรวมส่วนใหญ่ก็ยังชื่นชม

อย่างที่กล่าว เจตนาของผู้เขียนอยู่ที่ประมวลภาพรวมของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ากับศาสนาตะวันออก (ไม่ได้เจาะจงพุทธ) โดยเขียนเล่าแบบง่ายๆอ่านสบายๆ การเขียนแบบนี้ก็ต้องตัดรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินความจำเป็นทิ้ง

วันหยุดช่วงปีใหม่ ระหว่างที่คุณนอนพักผ่อนชายทะเล กางเต้นท์บนภูเขา หรืออยู่เฝ้าบ้าน ผมอยากแนะนำให้คุณหาเล่มนี้มาอ่าน ได้ทั้งความสนุกและสาระ

รื่นเริงเทศกาลคริสต์มาสครับ
Last Update : 24 ธันวาคม 2548

Wednesday, October 11, 2006

การสนทนา "Dharmodynamics"

กลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
มูลนิธิพันดารา ร่วมกับ
ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังการบรรยาย และร่วมเสวนา
หัวข้อ
“Dharmodynamics”
(ธรรมพลศาสตร์)
โดย
ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
สถาบันสหัสวรรษ

ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
เวลา 13.00 - 16.00 น. (มีขนมและของว่างบริการ)

Tuesday, September 26, 2006

Website is working!

Finally the website at www.stc.arts.chula.ac.th is up and running. However some files in the site are missing and I am working very hard to get them back again. But for the time being this is better than no website at all. The website will of course be updated continuously from now on.

Thursday, September 21, 2006

Website up on Monday

Today the computer guy came to my office and installed the new MacMini. Unfortunately, the monitor adapter did not work too tell and so he took the computer back and will bring a replacement on Monday. So the website has to wait until Monday.

Wednesday, September 13, 2006

Bad news

Last Monday (September 11) was a disaster for the Center for Ethics of Science and Technology. The server that hosts the website of the Center at www.stc.arts.chula.ac.th crashed so badly that it was not possible to retrieve any data. So we have to start building up the website again. If you come by this blog wondering what is happening with the website, you got the answer. We expect to get a new machine and get the website up and running in the next few days.

Thursday, August 24, 2006

Searle and Buddhism on the Mind and the Non-Self

Today, 03:28 PM

In works such as Rediscovery of the Mind, and Mind, Language and Society, Searle holds famously that the mind is a biological phenomenon. He states: “Consciousness is, above all, a biological phenomenon. Conscious processes are biological processes.” I would like to argue in this paper that Searle’s view here does not necessarily contradict the Buddhist conception of mind and its close corollary the doctrine of Non-Self (anaatman), the idea of the chain series of causes and effects that all together constitute a purported entity designable as the mind, self or consciousness without thereby an inherent, enduring Self being posited. Furthermore, except for the Buddhist insistence on the actuality of the process of reincarnation, which Searle does not accept, the two positions share quite a lot in common. Two traditions of Buddhism, namely that of the Theravaada Abhidharma and the Mahaayaana, will be referred to in order to substantial the claims of Buddhism in relation with an analysis of Searle's thought on the matter.

Searle’s view of the mind does not necessarily contradict the Buddhist teaching because Searle seems to be talking only about mind in its concrete manifestation, for example as the source of thinking, feeling, etc. Consciousness in Searle and in Buddhism in this case share many same characteristics together, most notably of which is that the content of consciousness is always changing and is intentional, and that one cannot find a deep core, the ‘homunculus’ inside the body or the brain. Another similarity between Searle and the Buddhist conception is that both reject Cartesian dualism.

However, there is one issue where Searle and Buddhism appears to be difference from each other and at first the gap seems so vast it is not reconcilable. The difference lies in the Buddhist teaching on the identity of the person or on the continuity of causal chains that constitute one’s karmic fruits that, depending on some important conditions, continues after bodily death. According to the scientific world view that Searle subscribes to, the mind is a function of the brain and consequently does not seem to survive the death of the latter. Nevertheless, I intend to argue here that Searle’s view does not necessarily preclude the possibility that consciousness might exist in some form after death of the brain. If he is willing to expand his epistemological apparatus somewhat and include the possibility of what Buddhists have consistently taken to be a source of knowledge, then his view and the Buddhist would be remarkably similar.

Tuesday, August 15, 2006

The 3rd Asia-Pacific Computing and Philosophy Conference

THE 3RD ASIA-PACIFIC COMPUTING AND PHILOSOPHY CONFERENCE

FEBRUARY 15, 16, 17, 2007
UNIVERSITY OF THE PHILIPPINES
DILIMAN, QUEZON CITY

CALL FOR PAPERS

THE INTERNATIONAL ASSOCIATION FOR COMPUTING AND PHILOSOPHY (IACAP,
www.ia-cap.org) is inviting interested parties to submit abstract
papers for its 3rd Asia-Pacific Computing and Philosophy Conference.
IACAP conferences are high profile conferences whose purpose is to
draw together people from variety of disciplines to discuss issues in
the intersection between computing and philosophy.

Previous conference topics included, among other things, the following:

Artificial Intelligence/Cognitive Sciences
Artificial Life/Computer Modeling Biology
Computer Ethics
Computer Mediated Communication
Culture and Society
Distance Education and Electronic Pedagogy
Electronic Publishing
Logic and Logic Software
Metaphysics (Distributive Primacy, Emergent Properties, Formal
Ontology, Network Structure)
Electronic Publishing
Robotics
Virtual Reality
Computational Logics
Interdisciplinary Approaches to the Problem of Consciousness

Topics other than those mentioned may be submitted

ABSTRACTS DUE: DECEMBER 16, 2006
(new deadline!)

Abstracts should be limited to no more than 1 to 2 pages, single
spaced and should include the author's name, institutional
affiliation and contact details (mailing address, phone numbers, fax,
e-mail address). They should be sent via email to
iacap_up@yahoo.com.ph or dmagat47@gmail.com. Please indicate "3rd
IACAP Abstract as Subject in the email. Authors of accepted abstracts
will be notified through their email, or other contact details.

REGISTRATION FOR THE CONFERENCE COMMENCES ON AUGUST 30, 2006
CONFERENCE FEE: $120; BUT $110 for early registrants before November
30, 2006.

Please contact the organizing commitee through iacap_up@yahoo.com.ph
or dmagat47@gmail.com

THE ORGANIZING COMMITTEE
3RD AP-IACAP CONFERENCE
DEPARTMENT OF PHILOSOPHY
COLLEGE OF SOCIAL SCIENCE AND PHILOSOPHY
UNIVERSITY OF THE PHILIPPINES
DILIMAN, QUEZON CITY

DAN REYNALD R. MAAGAT dmagat47@gmail.com; dmagat47@yahoo.com
Professor/Chaiman
Department of Philosophy
University of the Philippines
Diliman Quezon City
Philippines

Monday, July 03, 2006

Body and Mind: Science and Spirituality Perspectives

The Thousand Stars Buddhism and Science Group, together with the CESt, are organizing an international conference on "Body and Mind: Science and Spirituality Perspectives" at Room 105, Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University, on December 6-8, 2006. For more details please go to http://www.thousand-stars.org/TSBSG/bodymind.html.

Friday, June 16, 2006

ภาษาไทย

นี่เป็นการทดสอบบล็อกภาษาไทย

Thoughts for today

The next activity of the CEST will be a meeting of Buddhist schoalars and practitioners and a group of physicists at Room 708, Boromratchakumari Building, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. This is an event of the Thousand Stars Buddhism and Science Group (TSBSG), a group created to engage in dialogs between Buddhist scholars and scientists. The date is June 23, 2006 from 1 to 4 pm.

Monday, June 12, 2006

Center for Ethics of Science and Technology

The Center for Ethics of Science and Technology (CEST), Chulalongkorn University was established on March 7, 2006 as a research unit to undertake research on various aspects of ethics of science and technology, including bioethics, computer ethics, ethics of biotechnology, ethics of nanotechnology, and so on. This is the Center's official blog. The CEST's website is at http://www.stc.arts.chula.ac.th/.

The plan is to publish up-to-date news, events and activities on this blog. These will be faster than the website itself, so please check the blog often.

Soraj Hongladarom