EMPOWERING TECHNOLOGIES: TOWARDS A POST-THAKSIN VISION FOR DIGITAL THAILAND
A Joint Invitational Colloquium for Faculty of Chulalongkorn University and Asian Institute of Technology hosted by Chulalongkorn Center for Ethics of Science and Technology.
Thursday, February 1, 1:30-4 pm
Room 708 Boromratchakumari Building (Faculty of Arts Building),
Chulalongkorn University
You are invited to an informal colloquium that will explore an interdisciplinary ethical framework for the introduction of new digital products and services in Thailand. The featured speaker is Craig Warren Smith, of the University of Washington Human Interface Technology Laboratory. He is founder of DigitalDivide.org and SpiritualComputing.com.
As a Harvard visiting professor in Singapore, Prof. Smith advised Thailand's ICT Minister Surapong Suebwonglee, and helped convene Thailand's ICT stakeholders to establish a market-based framework for closing the digital divide. Now, Dr. Smith will facilitate a discussion about how various academic disciplines could come together -- combining management, technological and even spiritual perspectives -- to formulate technologies and a public-policy framework that bring empowerment to Thai citizens. In addition to academic participants, the colloquium will include invited guests from multinational corporations in the telecom and IT sectors.
The attached article, co-authored by Smith and Dr. Soraj Hongladarom, provides further perspectives on this colloquium and its implications for a "post-Thaksin" framework for ICT in Thailand.
Tuesday, January 23, 2007
Sunday, January 14, 2007
ประชุมโครงการที่เว้
ในขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ กำลังอยู่ในโรงแรม Festival Hotel ที่เมืองเว้ ประเทศเวียตนาม มาเว้เพื่อมาประชุมโครงการ The Role of Universities in Information Technology for Development in Asia (UICT4D) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยเพื่อสำรวจบทบาทของมหาวิทยาลัยในเอเซียต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนา รายละเอียดดูได้ที่เว็บ http://uict4d.org/
เว้เป็นเมืองเล็กๆที่น่ารักและมีเสน่ห์ และครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาประเทศเวียตนาม ออกเดินทางจากกรุงเทพฯที่ตอนบ่ายของวันพุธที่ 10 ถึงสนามบินที่เมืองโฮจิมินห์ในอีกราวๆหนึ่งชั่วโมงต่อมา จากนั้นก็เดินออกไปยังสนามบินในประเทศซึ่งอยู่ติดกัน พบกับเพื่อนๆในโครงการ UICT4D หลายคน จนล้อกันว่าเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินพิเศษสำหรับพวกเราเท่านั้น
สาเหตุที่มากันที่เว้ก็เพราะว่า Chris Coward บอกว่าเว้ที่ Learning Resource Center ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Atlantic Philanthropies ก็เลยคิดว่าควรจะมาที่นี่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือมาท่องเที่ยวที่นี่ เว้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียตนามก่อนที่จะกลายเป็นของฝรั่งเศส เมืองก็ยังคงความเป็น "ฝรั่งเศส" อยู่พอสมควร เช่นอาหารเช้าจะมีขนมปังแบบฝรั่งเศส ตึกรามบ้านช่องถึงแม้จะดูเก่าๆ แต่ก็คงความเป็นยุโรปไว้จนมองเห็นได้ เมื่อเดินทางมาถึงเว้ ก็ค่ำแล้ว รถแท็กซี่พาเรามายังโรงแรมเล็กๆในตัวเมือง ชื่อ Vong Canh Hotel ราคาคืนละ 10 เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ห้องก็พอใช้ได้สมกับโรงแรมราคาเท่านี้ เสียแต่ว่าในห้องของเราไม่มีผ้าเช็ดตัวทำให้ลำบากพอสมควร
พอรุ่งเช้าวันพฤหัส คุณ Huong ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ Hue Learning Resource Center ก็มาต้อนรับพวกเรา คุณ Huong พาเราไปกินอาหารเช้าที่ร้านที่อยู่ใกล้ ร้่านนี้ดูบรรยากาศเป็นยุโรปมากพอสมควร ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป มีขายขนมปังชนิดต่างๆอยู่หน้าร้าน ลองสั่งกาแฟแบบ Arabica มากิน ปรากฏว่าเขาใส่ผงกาแฟมาในถ้วยเล็กๆที่มีรูอยู่ข้างล่าง ทำให้กำแฟไหลลงไป กำแฟแก่มากแต่ก็อร่อยดี ใส่นมสดลงไปจนเต็มแก้ว แล้วก็กินขนมปังบาแก็ตกับเนยแข็งตามสไตล์ฝรั่งเศส
จากนั้นก็เดินเท้ากันไปยัง Learning Resource Center เป็นตึกสี่ชั้นยังใหม่มากๆ ทราบว่าสร้างจากเงินบริจาคของ Atlantic Philanthropies Foundation ซึ่งเป็นมูลนืธิในสหรัฐฯที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาในประเทศเวียตนาม ไอร์แลนด์เหนือ กับประเทศอื่นๆอีกสองสามประเทศ ในตึกเต็มไปด้วยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ต กับมีหนังสืออีกจำนวนหนึ่ง มีหนุ่มสาวชาวเว้นั่งดูคอมพิวเตอร์กันอย่างสนอกสนใจ บรรยากาศคล้ายๆกับอุทยานเรียนรู้ หรือ Knowledge Park ที่อยู่ตรงห้างเวิร์ลเทรด แต่ที่ต่างกันก็คือว่า ที่นี่ไม่ค่อยมีเด็กเล็กๆ มีแต่หนุ่มสาววัยรุ่น ซึ่งคาดว่าคงเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเว้ เนื่องจากศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย หน้าประตูมียามคอยตรวจของ ข้างในมีโต๊ะยาวๆมีคอมพิวเตอร์วางเรียงจนเต็ม คุณ Huong พาเราเดินขึ้นไปข้างบน ชั้นสองกับชั้นสามก็เหมือนกัน คือมีโต๊ะคอมพิวเตอร์อยู่เต็ม มีนักศึกษานั่งทำงานกันเต็มเช่นเดียวกัน ลองแอบดูว่าเขาดูอะไรกัน ปรากฏว่าหลายคนกำลังค้นข้อมูล ซึ่งคิดว่ากำลังเขียน paper บางคนก็กำลังตอบอีเมล์ บางคนดูข้อมูลต่างๆบนเว็บ ไม่เห็นใครเล่นเกมเลย (ไม่เหมือนกับที่ Knowledge Park) แสดงว่านักศึกษาเวียตนามสนใจการเรียนกันจริงๆ
ห้องประชุมของเราอยู่บนชั้นสี่ พอมาถึงก็พบว่ามีอุปกรณ์ต่างๆพร้อมเพรียง ที่น่าสังเกตคือในห้องมี wireless internet ทำให้ติดต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย จนเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการอ่านอีเมล์กับดาว์นโหลดต่างๆ จนไม่ได้ให้ความสนใจแก่การประชุมมากนัก คิดว่าที่จุฬาฯไม่มีตึกไหนเลยที่ทำให้เราสามารถต่อ wireless internet ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องลงทะเบียนใดๆเช่นนี้ เรื่องนี้นับว่าจุฬาฯยังตามหลังมหาวิทยาลัยเว้อยู่มาก
รายละเอียดของการประชุมก็มีเรื่องจะเล่าอีกมาก แต่คงต้องรอไปเขียนในอะไรที่เป็นทางการมากกว่านี้
พอประชุมเสร็จ คุณ Huong ก็พาเราไปชั้นล่างของตึกเพื่อกินอาหารกลางวัน อาหารเป็นแบบเวียตนามขนานแท้ กล่าวกันว่าอาหารที่เว้เป็นอาหารเวียตนามที่อร่อยที่สุด ก็เห็นจะจริงตามนั้น เพราะกินเข้าไปเยอะพอสมควร
ในตอนค่ำเจ้าของบ้านของเราก็พาเราไปยังร้านอาหารในโรงแรม Century Riverside ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำหอม ชื่อภาษาอังกฤษของแม่น้ำนี้ได้แก่ Perfume River ซึ่งไม่รู้ว่าชื่อภาษาไทยแปลมาจากชื่อนี้หรือเปล่า อาหารที่เรากินก็เป็นอาหารเวียตนาม ที่ยกมาเสริฟทีละชุดแบบโต๊ะจีน ก่อนหน้านี้ Chris กับ Colin มีความเห็นกันว่า โรงแรมที่ทาง LRC จัดให้เรานั้น อยู่ไม่สบาย ที่สำคัญคือไม่มีอินเทอร์เน็ต ทำให้ทำงานไม่สะดวก ก็เลยตกลงจะเปลี่ยนโรงแรม พอดี Kelly Hutchinson ตัวแทนที่ทำวิจัยประเทศกัมพูชา เคยมาที่เมืองนี้ และรู้จักโรงแรม Festival ก็เลยพากันย้ายมาโรงแรมนี้กันทั้งหมด ตกลงพอกินอาหารเย็นเสร็จก็มาพักกันที่โรงแรม Festival
วันที่สองของการประชุมจบลงประมาณเวลาบ่ายสามโมงกว่าๆ เพราะต้องการจะหาเวลาไปเที่ยวพระราชวังจักรพรรดิที่อยู่ใกล้ๆ พระราชวังนี้เป็นของจักรพรรดิราชวงค์เหงียน ซึ่งปกครองเวียตนามอยู่ประมาณสองร้อยปี และเริ่มต้นราชวงศ์ในเวลาที่ไม่ห่างจากราชวงศ์จักรีของเราไม่นานนัก ด้านหน้าของพระราชวังมีป้อมปราการ มีธงชาติเวียตนามขนาดใหญ่มากโบกอยู่ ธงที่ป้อมนี้มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ คือเป็นธงที่ฝ่ายเวียตนามเหนือชัดขึ้น เมื่อยึดเมืองเว้ได้ในคราว Tet Offensive ในปี ค.ศ. 1968 ฝ่ายเวียตนามเหนือยึดเว้ไว้ได้ถึงสามอาทิตย์กว่า ซึ่งมากกว่าเมืองใดๆที่เคยยึดได้เมื่อสหรัฐฯยังร่วมสงครามอยู่ เว้เป็นสมรภูมิสำคัญในสงครามเวียตนาม แต่ผลลัพธ์ก็คือว่า พระราชวังของจักรพรรดิถูกทำลายไปเกือบหมด ที่เห็นตั้งอยู่ก็เป็นอาคารที่ซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ แต่ถึงกระนั้นก็ยังตระการตา และทำให้นึกไปว่า เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่นั้นจะสวยงามเพียงใด แบบแปลนของพระราชวังจักรพรรดิที่นี่คล้ายๆกับของจีนที่ปักกิ่ง เพียงแต่ว่าของจีนจะใหญ่กว่า แต่ถึงกระนั้นที่นี่ก็ยังใหญ่ไม่แพ้กันเท่าใดนัก ที่ต่างกันมาก็คือว่า ที่นี่ถูกทำลายไปเกือบหมด อาคารบางหลังเหลือแต่พื้นดำๆ กับร่องรอยพอให้รู้ว่าเคยเป็นพระราชวังเท่านั้น ข้างในบางส่วนก็กลายเป็นสวนผักไป มีอาคารไม่กี่หลังเท่านั้นที่ได้รับการบูรณะ แต่ก็เห็นบางส่วนยังซ่อมกันอยู่ เช่นระเบียงคดที่คิดว่าเป็นแนวกั้นระหว่างวังฝ่ายหน้ากับฝ่ายใน
ในวันเสาร์ เรามีการประชุมกันแค่ครึ่งวัน เพื่อเป็นการสรุปงานที่แต่ละฝ่ายต้องไปทำต่อไป อยู่เว้จนถึงเย็นวันอาทิตย์ และก็ต้องค้างคืนที่โฮจิมินห์อีกคืนหนึ่ง ก่อนจะกลับกรุงเทพฯในบ่ายวันจันทร์
ในวันอาทิตย์นี้ ได้ไปที่เจดีย์ Thien Mu ซึ่งแปลว่านางฟ้าจากสวรรค์ บริเวณเจดีย์มีวัดอยู่ วัดนี้เป็นวัดของหลวงพ่อที่เผาตนเองประท้วงการปกครองของเวียตนามใต้ ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีโง ดิน เดียม เราได้เห็นอัฐบริขารของหลวงพ่อด้วย (ชื่ออะไรจำไม่ได้แล้ว) คิดว่าเป็นพระที่ปฏิบัติไดดียิ่ง ท่านคงเห็นว่า การต่อสู้กับความชั่วร้ายคงไม่มีวิธีอะไรอื่นอีกแล้ว นอกจากทำเช่นนี้ ท่านนั่งรถไปจอดบนถนน แล้วก็ออกมานั่งขัดสมาธิบนถนน แล้วก็จุดไฟเผาตนเอง ภาพนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ตอนที่เห็นภาพเราซาบซึ้งในความเด็ดเดี่ยวของหลวงพ่อมาก ท่านต้องปฏิบัติมาได้ดีมากๆ จนไม่มีความยึดติดอะไรกับตัวตนอีกต่อไป เราเกือบจะน้ำตาไหลเมื่อเห็นภาพของท่านนั่งอยู่ในกองเพลิงบนถนนของไซ่ง่อน พลางก็นึกถึงคำสอนของท่านศานติเทวะที่บอกว่า หากเราเอาชนะจิตของเราได้ ก็เท่ากับชนะสิ่งอื่นๆในโลกได้ทั้งหมด ไม่ว่าศัตรูอะไรที่ไหนก็สามารถเอาชนะได้ หากเราเอาชนะจิตของเราเอง
เว้เป็นเมืองเล็กๆที่น่ารักและมีเสน่ห์ และครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาประเทศเวียตนาม ออกเดินทางจากกรุงเทพฯที่ตอนบ่ายของวันพุธที่ 10 ถึงสนามบินที่เมืองโฮจิมินห์ในอีกราวๆหนึ่งชั่วโมงต่อมา จากนั้นก็เดินออกไปยังสนามบินในประเทศซึ่งอยู่ติดกัน พบกับเพื่อนๆในโครงการ UICT4D หลายคน จนล้อกันว่าเที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินพิเศษสำหรับพวกเราเท่านั้น
สาเหตุที่มากันที่เว้ก็เพราะว่า Chris Coward บอกว่าเว้ที่ Learning Resource Center ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Atlantic Philanthropies ก็เลยคิดว่าควรจะมาที่นี่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และที่ขาดไม่ได้ก็คือมาท่องเที่ยวที่นี่ เว้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียตนามก่อนที่จะกลายเป็นของฝรั่งเศส เมืองก็ยังคงความเป็น "ฝรั่งเศส" อยู่พอสมควร เช่นอาหารเช้าจะมีขนมปังแบบฝรั่งเศส ตึกรามบ้านช่องถึงแม้จะดูเก่าๆ แต่ก็คงความเป็นยุโรปไว้จนมองเห็นได้ เมื่อเดินทางมาถึงเว้ ก็ค่ำแล้ว รถแท็กซี่พาเรามายังโรงแรมเล็กๆในตัวเมือง ชื่อ Vong Canh Hotel ราคาคืนละ 10 เหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ห้องก็พอใช้ได้สมกับโรงแรมราคาเท่านี้ เสียแต่ว่าในห้องของเราไม่มีผ้าเช็ดตัวทำให้ลำบากพอสมควร
พอรุ่งเช้าวันพฤหัส คุณ Huong ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ Hue Learning Resource Center ก็มาต้อนรับพวกเรา คุณ Huong พาเราไปกินอาหารเช้าที่ร้านที่อยู่ใกล้ ร้่านนี้ดูบรรยากาศเป็นยุโรปมากพอสมควร ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป มีขายขนมปังชนิดต่างๆอยู่หน้าร้าน ลองสั่งกาแฟแบบ Arabica มากิน ปรากฏว่าเขาใส่ผงกาแฟมาในถ้วยเล็กๆที่มีรูอยู่ข้างล่าง ทำให้กำแฟไหลลงไป กำแฟแก่มากแต่ก็อร่อยดี ใส่นมสดลงไปจนเต็มแก้ว แล้วก็กินขนมปังบาแก็ตกับเนยแข็งตามสไตล์ฝรั่งเศส
จากนั้นก็เดินเท้ากันไปยัง Learning Resource Center เป็นตึกสี่ชั้นยังใหม่มากๆ ทราบว่าสร้างจากเงินบริจาคของ Atlantic Philanthropies Foundation ซึ่งเป็นมูลนืธิในสหรัฐฯที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาในประเทศเวียตนาม ไอร์แลนด์เหนือ กับประเทศอื่นๆอีกสองสามประเทศ ในตึกเต็มไปด้วยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ต กับมีหนังสืออีกจำนวนหนึ่ง มีหนุ่มสาวชาวเว้นั่งดูคอมพิวเตอร์กันอย่างสนอกสนใจ บรรยากาศคล้ายๆกับอุทยานเรียนรู้ หรือ Knowledge Park ที่อยู่ตรงห้างเวิร์ลเทรด แต่ที่ต่างกันก็คือว่า ที่นี่ไม่ค่อยมีเด็กเล็กๆ มีแต่หนุ่มสาววัยรุ่น ซึ่งคาดว่าคงเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเว้ เนื่องจากศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย หน้าประตูมียามคอยตรวจของ ข้างในมีโต๊ะยาวๆมีคอมพิวเตอร์วางเรียงจนเต็ม คุณ Huong พาเราเดินขึ้นไปข้างบน ชั้นสองกับชั้นสามก็เหมือนกัน คือมีโต๊ะคอมพิวเตอร์อยู่เต็ม มีนักศึกษานั่งทำงานกันเต็มเช่นเดียวกัน ลองแอบดูว่าเขาดูอะไรกัน ปรากฏว่าหลายคนกำลังค้นข้อมูล ซึ่งคิดว่ากำลังเขียน paper บางคนก็กำลังตอบอีเมล์ บางคนดูข้อมูลต่างๆบนเว็บ ไม่เห็นใครเล่นเกมเลย (ไม่เหมือนกับที่ Knowledge Park) แสดงว่านักศึกษาเวียตนามสนใจการเรียนกันจริงๆ
ห้องประชุมของเราอยู่บนชั้นสี่ พอมาถึงก็พบว่ามีอุปกรณ์ต่างๆพร้อมเพรียง ที่น่าสังเกตคือในห้องมี wireless internet ทำให้ติดต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบาย จนเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการอ่านอีเมล์กับดาว์นโหลดต่างๆ จนไม่ได้ให้ความสนใจแก่การประชุมมากนัก คิดว่าที่จุฬาฯไม่มีตึกไหนเลยที่ทำให้เราสามารถต่อ wireless internet ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องลงทะเบียนใดๆเช่นนี้ เรื่องนี้นับว่าจุฬาฯยังตามหลังมหาวิทยาลัยเว้อยู่มาก
รายละเอียดของการประชุมก็มีเรื่องจะเล่าอีกมาก แต่คงต้องรอไปเขียนในอะไรที่เป็นทางการมากกว่านี้
พอประชุมเสร็จ คุณ Huong ก็พาเราไปชั้นล่างของตึกเพื่อกินอาหารกลางวัน อาหารเป็นแบบเวียตนามขนานแท้ กล่าวกันว่าอาหารที่เว้เป็นอาหารเวียตนามที่อร่อยที่สุด ก็เห็นจะจริงตามนั้น เพราะกินเข้าไปเยอะพอสมควร
ในตอนค่ำเจ้าของบ้านของเราก็พาเราไปยังร้านอาหารในโรงแรม Century Riverside ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำหอม ชื่อภาษาอังกฤษของแม่น้ำนี้ได้แก่ Perfume River ซึ่งไม่รู้ว่าชื่อภาษาไทยแปลมาจากชื่อนี้หรือเปล่า อาหารที่เรากินก็เป็นอาหารเวียตนาม ที่ยกมาเสริฟทีละชุดแบบโต๊ะจีน ก่อนหน้านี้ Chris กับ Colin มีความเห็นกันว่า โรงแรมที่ทาง LRC จัดให้เรานั้น อยู่ไม่สบาย ที่สำคัญคือไม่มีอินเทอร์เน็ต ทำให้ทำงานไม่สะดวก ก็เลยตกลงจะเปลี่ยนโรงแรม พอดี Kelly Hutchinson ตัวแทนที่ทำวิจัยประเทศกัมพูชา เคยมาที่เมืองนี้ และรู้จักโรงแรม Festival ก็เลยพากันย้ายมาโรงแรมนี้กันทั้งหมด ตกลงพอกินอาหารเย็นเสร็จก็มาพักกันที่โรงแรม Festival
วันที่สองของการประชุมจบลงประมาณเวลาบ่ายสามโมงกว่าๆ เพราะต้องการจะหาเวลาไปเที่ยวพระราชวังจักรพรรดิที่อยู่ใกล้ๆ พระราชวังนี้เป็นของจักรพรรดิราชวงค์เหงียน ซึ่งปกครองเวียตนามอยู่ประมาณสองร้อยปี และเริ่มต้นราชวงศ์ในเวลาที่ไม่ห่างจากราชวงศ์จักรีของเราไม่นานนัก ด้านหน้าของพระราชวังมีป้อมปราการ มีธงชาติเวียตนามขนาดใหญ่มากโบกอยู่ ธงที่ป้อมนี้มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ คือเป็นธงที่ฝ่ายเวียตนามเหนือชัดขึ้น เมื่อยึดเมืองเว้ได้ในคราว Tet Offensive ในปี ค.ศ. 1968 ฝ่ายเวียตนามเหนือยึดเว้ไว้ได้ถึงสามอาทิตย์กว่า ซึ่งมากกว่าเมืองใดๆที่เคยยึดได้เมื่อสหรัฐฯยังร่วมสงครามอยู่ เว้เป็นสมรภูมิสำคัญในสงครามเวียตนาม แต่ผลลัพธ์ก็คือว่า พระราชวังของจักรพรรดิถูกทำลายไปเกือบหมด ที่เห็นตั้งอยู่ก็เป็นอาคารที่ซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ แต่ถึงกระนั้นก็ยังตระการตา และทำให้นึกไปว่า เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่นั้นจะสวยงามเพียงใด แบบแปลนของพระราชวังจักรพรรดิที่นี่คล้ายๆกับของจีนที่ปักกิ่ง เพียงแต่ว่าของจีนจะใหญ่กว่า แต่ถึงกระนั้นที่นี่ก็ยังใหญ่ไม่แพ้กันเท่าใดนัก ที่ต่างกันมาก็คือว่า ที่นี่ถูกทำลายไปเกือบหมด อาคารบางหลังเหลือแต่พื้นดำๆ กับร่องรอยพอให้รู้ว่าเคยเป็นพระราชวังเท่านั้น ข้างในบางส่วนก็กลายเป็นสวนผักไป มีอาคารไม่กี่หลังเท่านั้นที่ได้รับการบูรณะ แต่ก็เห็นบางส่วนยังซ่อมกันอยู่ เช่นระเบียงคดที่คิดว่าเป็นแนวกั้นระหว่างวังฝ่ายหน้ากับฝ่ายใน
ในวันเสาร์ เรามีการประชุมกันแค่ครึ่งวัน เพื่อเป็นการสรุปงานที่แต่ละฝ่ายต้องไปทำต่อไป อยู่เว้จนถึงเย็นวันอาทิตย์ และก็ต้องค้างคืนที่โฮจิมินห์อีกคืนหนึ่ง ก่อนจะกลับกรุงเทพฯในบ่ายวันจันทร์
ในวันอาทิตย์นี้ ได้ไปที่เจดีย์ Thien Mu ซึ่งแปลว่านางฟ้าจากสวรรค์ บริเวณเจดีย์มีวัดอยู่ วัดนี้เป็นวัดของหลวงพ่อที่เผาตนเองประท้วงการปกครองของเวียตนามใต้ ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีโง ดิน เดียม เราได้เห็นอัฐบริขารของหลวงพ่อด้วย (ชื่ออะไรจำไม่ได้แล้ว) คิดว่าเป็นพระที่ปฏิบัติไดดียิ่ง ท่านคงเห็นว่า การต่อสู้กับความชั่วร้ายคงไม่มีวิธีอะไรอื่นอีกแล้ว นอกจากทำเช่นนี้ ท่านนั่งรถไปจอดบนถนน แล้วก็ออกมานั่งขัดสมาธิบนถนน แล้วก็จุดไฟเผาตนเอง ภาพนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ตอนที่เห็นภาพเราซาบซึ้งในความเด็ดเดี่ยวของหลวงพ่อมาก ท่านต้องปฏิบัติมาได้ดีมากๆ จนไม่มีความยึดติดอะไรกับตัวตนอีกต่อไป เราเกือบจะน้ำตาไหลเมื่อเห็นภาพของท่านนั่งอยู่ในกองเพลิงบนถนนของไซ่ง่อน พลางก็นึกถึงคำสอนของท่านศานติเทวะที่บอกว่า หากเราเอาชนะจิตของเราได้ ก็เท่ากับชนะสิ่งอื่นๆในโลกได้ทั้งหมด ไม่ว่าศัตรูอะไรที่ไหนก็สามารถเอาชนะได้ หากเราเอาชนะจิตของเราเอง
Wednesday, January 10, 2007
Yoga Asia (from 3ho.org)
Kundalini Yoga Asia Events - Thailand
with Sunder Singh Khalsa, www.3ho.org
24 March - 01 April 2007
Tentative Programme updated 08-12-2006
1. Saturday –Wednesday 24-28 March (arrival: Friday 23 March PM)
KRI Teacher Transformation Level 2 Module
Authentic Relationships
open to KRI level I certified teachers, and advanced Kundalini Yoga students *
2. Thursday 29 March: no programme
TCP-Asia students can take the level 1 written exam
3. Friday 30 March A.M.
International Teacher Meeting
for teachers/student-teachers from different countries
4. Friday 30 March, 14.00h – Sunday 01 April, 17.00h
International Workshop
Communication and the Mind
with Sunder Singh Khalsa and other teachers
open to everyone interested
Location:
Baan Phuwaan Pastoral training centre, Nakhorn Pathum, near Bangkok
Participants: from Asia and elsewhere
*advanced KY students are recommended by their own KYoga teacher; interested persons can ask for an interview with a KY teacher.
Costs: Thai participants: B2300 per night/day (shared room, noon to noon)
International participants: $US 70 per night/day (shared room; noon to noon)
Additional fee for the Level 2 Module Authentic Relationships: B3100 or $US 85
REGISTRATION AND DETAILED INFORMATION:
event-info@kundaliniyogathailand.org
with Sunder Singh Khalsa, www.3ho.org
24 March - 01 April 2007
Tentative Programme updated 08-12-2006
1. Saturday –Wednesday 24-28 March (arrival: Friday 23 March PM)
KRI Teacher Transformation Level 2 Module
Authentic Relationships
open to KRI level I certified teachers, and advanced Kundalini Yoga students *
2. Thursday 29 March: no programme
TCP-Asia students can take the level 1 written exam
3. Friday 30 March A.M.
International Teacher Meeting
for teachers/student-teachers from different countries
4. Friday 30 March, 14.00h – Sunday 01 April, 17.00h
International Workshop
Communication and the Mind
with Sunder Singh Khalsa and other teachers
open to everyone interested
Location:
Baan Phuwaan Pastoral training centre, Nakhorn Pathum, near Bangkok
Participants: from Asia and elsewhere
*advanced KY students are recommended by their own KYoga teacher; interested persons can ask for an interview with a KY teacher.
Costs: Thai participants: B2300 per night/day (shared room, noon to noon)
International participants: $US 70 per night/day (shared room; noon to noon)
Additional fee for the Level 2 Module Authentic Relationships: B3100 or $US 85
REGISTRATION AND DETAILED INFORMATION:
event-info@kundaliniyogathailand.org
Tuesday, January 09, 2007
Information Divide, Information Flow and Global Justice
Soraj Hongladarom
Department of Philosophy and Center for Ethics of Science and Technology
Chulalongkorn University, Thailand
Information has become a precious resource. It is commonly known that today's economy is being driven by knowledge and information, and that today's advanced technologies in many fields are deeply infused with information. However, it is also well known that this type of information lies mostly in the hands of those in the highly developed western countries, who generate the information to serve the needs of their industries and enterprises through basic and applied research. These industries in turn feed the economies of these countries, which come back to provide more funding for further research. Thus a cycle has developed whereby the industrialized economies are able to sustain their pace of economic progress.
On the other hand, the countries and economies in the developing world do not seem to fare as well. What is happening is that the same kind of virtuous cycle that has already taken place in the developed world has largely not found its way to get started yet. And the key to this non-starting is the apparent lack of information. Without effective research and development facilities and infrastructure, the countries in the developing world seems to lack a mean of generating information and knowledge that is necessary to fuel their own industries. Without these industries there is little that these countries can rely on in order to provide their own funding for research and development.
I would like to call this situation an 'information divide.' It is broader than what is commonly known as the digital divide in that the latter is focused more on the actual access to information technology and the global computer network, whereas the information divide here is more a matter of a society's capability of generating their own information that could be harnessed in their economic development. The digital divide as commonly known is then only a part of the wider information divide. What I aim to do in the paper is to lay out a conceptual map for the whole issue, firstly by outlining the ethical issues involved, then providing some conceptual clarifications—it is clear that the very concept of information needs to be clarified—and concluding by suggesting some concrete means by which this information gap can be reduced.
As for the first part on the ethical conception, I argue that the disparity in information between the developed and developing world is not simply a matter of one side having more information than the other. On the contrary it is actually a matter of the capability of 'harvesting' or 'mining' the information that is already there everywhere. This capability has in fact spilled over from the territorial confines of the developed world when, for example, biologists and pharmacologists from the West come to countries like Brazil or Thailand searching for biological samples that could be developed for new drugs. The information is already there, but some expertise is needed to extract it. This issue, known as 'biopiracy' or 'bioprospecting', has created controversies and protests from those in the developing, and developed world, who see that this is an injustice since the drugs that will be developed will often be catered to the interests of the rich consumers in the West only. Hence, sharing of information has become a crucial issue in the relations between the developing South and the developed North. The issue that needs to be ironed out is how this sharing of information should be spelled out in detail in practice, not only about sharing of information gleaned from biological resources, but other kinds of information also.
Talking about sharing of information implies that one also talks about flow of information from one region to another. To think that the problem of information divide could be solved by simply letting information flow from North to South does not work, because that would mean the information that is already there in the South is not put to use. Another reason is that this presupposes that the South has nothing to contribute, and all the information is there in the North. This may sound quite obvious, but in fact the one-way information flow has been the norm in developing countries for decades, as it is believed that information (which for our purpose here includes knowledge and expertise) needs to flow from the North in order to help strengthen the South. It also represents a colonial mindset in that it implies that the South will be always dependent on the North for information.
Hence, I propose a system of flow of information that better reflects global justice. Instead of the one-directional flow, information needs to flow in and out in both directions. It is also important that information needs to flow from one developing nation to another, and not only between the North and the South. In order for the South to be actually strengthened, information needs also to be able to travel from one part to another all within the South itself. This, unfortunately, is not happening on a significant scale, as developing nations still look toward the Western countries for models and for knowledge and expertise.
For that to be possible, there has to be a network of Southern, developing countries with one another. This is not as easy as it might look, because there are a number of obstacles that need to be overcome, such as differing language, cultures and perhaps more significantly the idea that there is nothing to be learned from one’s counterpart in another developing country. Another important point is that there has to be an effective way of ‘mining’ or ‘extracting’ information so that valuable information in the South is not lost to the whole world. This also involves looking toward the traditions of the cultures of the South (and indeed at those of the North) in order to find insights and even expertise in dealing with contemporary problems.
An advantage of focusing on intra-southern information sharing is that it dissolves the global/local dichotomy that is prevalent in today’s discourse about information flow. Based on a conception of information which will need to be fully developed in another, more philosophical paper, I propose that information is neither global nor local, or to put it in other words it is both global and local at the same time. This is possible because, as I shall point out, the boundary between the global and the local is a constructed one and once we find that its presupposition is wanting, the whole edifice comes crumbling down. The usual understanding is that the West (or the North) represents the ‘global’, and the East (or the South) the ‘local.’ But this means that the West is the hegemonic force that is capable of dominating the world, becoming the global in the process and thereby marginalizing non-western cultures to be the local ones. In the proposal to be developed, everywhere is a global and a local at the same time, or nowhere is exclusively a global or a local. This is possible because the South does have its store of information that is ready to be shared for the benefit of the world. The challenge is only how to bring that out in such a way that does not require being dependent on the North.
Department of Philosophy and Center for Ethics of Science and Technology
Chulalongkorn University, Thailand
Information has become a precious resource. It is commonly known that today's economy is being driven by knowledge and information, and that today's advanced technologies in many fields are deeply infused with information. However, it is also well known that this type of information lies mostly in the hands of those in the highly developed western countries, who generate the information to serve the needs of their industries and enterprises through basic and applied research. These industries in turn feed the economies of these countries, which come back to provide more funding for further research. Thus a cycle has developed whereby the industrialized economies are able to sustain their pace of economic progress.
On the other hand, the countries and economies in the developing world do not seem to fare as well. What is happening is that the same kind of virtuous cycle that has already taken place in the developed world has largely not found its way to get started yet. And the key to this non-starting is the apparent lack of information. Without effective research and development facilities and infrastructure, the countries in the developing world seems to lack a mean of generating information and knowledge that is necessary to fuel their own industries. Without these industries there is little that these countries can rely on in order to provide their own funding for research and development.
I would like to call this situation an 'information divide.' It is broader than what is commonly known as the digital divide in that the latter is focused more on the actual access to information technology and the global computer network, whereas the information divide here is more a matter of a society's capability of generating their own information that could be harnessed in their economic development. The digital divide as commonly known is then only a part of the wider information divide. What I aim to do in the paper is to lay out a conceptual map for the whole issue, firstly by outlining the ethical issues involved, then providing some conceptual clarifications—it is clear that the very concept of information needs to be clarified—and concluding by suggesting some concrete means by which this information gap can be reduced.
As for the first part on the ethical conception, I argue that the disparity in information between the developed and developing world is not simply a matter of one side having more information than the other. On the contrary it is actually a matter of the capability of 'harvesting' or 'mining' the information that is already there everywhere. This capability has in fact spilled over from the territorial confines of the developed world when, for example, biologists and pharmacologists from the West come to countries like Brazil or Thailand searching for biological samples that could be developed for new drugs. The information is already there, but some expertise is needed to extract it. This issue, known as 'biopiracy' or 'bioprospecting', has created controversies and protests from those in the developing, and developed world, who see that this is an injustice since the drugs that will be developed will often be catered to the interests of the rich consumers in the West only. Hence, sharing of information has become a crucial issue in the relations between the developing South and the developed North. The issue that needs to be ironed out is how this sharing of information should be spelled out in detail in practice, not only about sharing of information gleaned from biological resources, but other kinds of information also.
Talking about sharing of information implies that one also talks about flow of information from one region to another. To think that the problem of information divide could be solved by simply letting information flow from North to South does not work, because that would mean the information that is already there in the South is not put to use. Another reason is that this presupposes that the South has nothing to contribute, and all the information is there in the North. This may sound quite obvious, but in fact the one-way information flow has been the norm in developing countries for decades, as it is believed that information (which for our purpose here includes knowledge and expertise) needs to flow from the North in order to help strengthen the South. It also represents a colonial mindset in that it implies that the South will be always dependent on the North for information.
Hence, I propose a system of flow of information that better reflects global justice. Instead of the one-directional flow, information needs to flow in and out in both directions. It is also important that information needs to flow from one developing nation to another, and not only between the North and the South. In order for the South to be actually strengthened, information needs also to be able to travel from one part to another all within the South itself. This, unfortunately, is not happening on a significant scale, as developing nations still look toward the Western countries for models and for knowledge and expertise.
For that to be possible, there has to be a network of Southern, developing countries with one another. This is not as easy as it might look, because there are a number of obstacles that need to be overcome, such as differing language, cultures and perhaps more significantly the idea that there is nothing to be learned from one’s counterpart in another developing country. Another important point is that there has to be an effective way of ‘mining’ or ‘extracting’ information so that valuable information in the South is not lost to the whole world. This also involves looking toward the traditions of the cultures of the South (and indeed at those of the North) in order to find insights and even expertise in dealing with contemporary problems.
An advantage of focusing on intra-southern information sharing is that it dissolves the global/local dichotomy that is prevalent in today’s discourse about information flow. Based on a conception of information which will need to be fully developed in another, more philosophical paper, I propose that information is neither global nor local, or to put it in other words it is both global and local at the same time. This is possible because, as I shall point out, the boundary between the global and the local is a constructed one and once we find that its presupposition is wanting, the whole edifice comes crumbling down. The usual understanding is that the West (or the North) represents the ‘global’, and the East (or the South) the ‘local.’ But this means that the West is the hegemonic force that is capable of dominating the world, becoming the global in the process and thereby marginalizing non-western cultures to be the local ones. In the proposal to be developed, everywhere is a global and a local at the same time, or nowhere is exclusively a global or a local. This is possible because the South does have its store of information that is ready to be shared for the benefit of the world. The challenge is only how to bring that out in such a way that does not require being dependent on the North.
แสงจันทร์เหนือยอดสนกับความทรงจำอันงดงาม
แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา, 2549
157 หน้า, ราคา 269 บาท
ในไออุ่นของดวงดาว (แห่งความหวัง)
หลังจากที่ได้รับ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” สดๆ ใหม่ๆ เพิ่งออกมาจากโรงพิมพ์ ก็ได้อ่านจบแรกบนรถเมล์ระหว่างเดินทางกลับบ้าน
นับเป็นการเดินทางกลับ “บ้าน” ทั้งภายนอกและภายใน
คลื่นวิทยุบนรถเมล์สายนั้นเปิดเพลงๆ หนึ่งซึ่งเคยโด่งดังมากเมื่อปีสองปีก่อน
เนื้อเพลงทั้งเพลงคร่ำครวญถึงความรู้สึกเหงา พูดถึงดวงใจเสาะแสวงหาของคนๆ หนึ่งซึ่งไขว่คว้าคนที่รักและรู้ใจสักคนหนึ่งมาอยู่ข้างกาย ทำลายความเหงาให้หมดไป
ความเหงาที่ถ่ายทอดออกมาจากบทเพลงๆ นี้ทำให้ต้องละสายตาจากบทกวีที่งดงามและเรียบง่ายในหนังสือ เพราะสิ่งที่กำลังซาบซึ้งดื่มด่ำนั้น ช่างแตกต่างเสียเหลือเกินกับความเหงาที่เขารำพัน
บนรถเมล์คันนั้น อาจมีใครหลายๆ คนที่กำลังเหงา แม้นั่งหรือยืนเบียดเสียดอยู่ท่ามกลางคนมากมาย
น่าแปลก ในขณะที่เรามีโทรศัพท์มือถือให้โทร. ฟรีหากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง มีเกมมือถือให้เล่นฆ่าเวลา มีอินเทอร์เน็ตให้พูดคุยกันข้ามทวีป มีโทรทัศน์เปิดค้างอยู่เป็นเพื่อน...
แต่น้อยคนนักจะเป็นอิสระจากความเหงา
ความเหงากำลังเป็น “โรค” ที่ทำให้คนในโลกสมัยใหม่ ทุกเพศทุกวัยต้องทนทุกข์ทรมาน
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานเป็นเรื่องลี้ลับ มีอะไรมากมายเกินที่จะจดจำ ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะเข้าถึง
แต่แท้ที่จริง วัชรยานเป็นวิถีธรรมที่แสนเรียบง่าย ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกจากความกรุณาและการคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเสมอ ความกรุณานี้เองที่พาเราให้เป็นอิสระจากความทุกข์ และเข้าใจความจริงของ “ธรรมชาติ”
เมื่อเราคิดถึงผู้อื่นก่อนอยู่เสมอ หวั่นไหวแม้ความทุกข์และความตายของสัตว์เล็กๆ ฝึกฝนตนเองให้เป็น “ผู้ให้” อยู่เสมอในทุกลมหายใจ ใจดวงนั้นย่อมยิ่งใหญ่
แล้ว “ความเหงา” ก็กลายเป็นเพียงละอองฝุ่นธุลีเล็กๆ ที่ไร้ความหมาย
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ความเหงาที่ต้องเผชิญในชีวิตนี้ช่างหนักหนาสาหัสเหลือเกิน บางคนทนต่อความเหงาไม่ไหว ไม่รู้จะทำอย่างไร จนกระทั่งคิดทำลายชีวิตตนเอง เพราะหวังว่าความตายจะเป็นที่สุดของความทุกข์ เป็นจุดจบของความเหงา
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า หลังจากที่เราตาย หมดลมหายใจไปแล้ว จะมีช่วงเวลาอีก 49 วันใน “บาร์โด” ที่เราจะต้องทนทุกข์อยู่ในความเหงาที่ยิ่งกว่าความเหงาใดๆ
น่าเศร้าที่ยิ่งวิทยาการก้าวหน้า คนก็ยิ่งคิดถึงแต่ตัวเองมากขึ้น คิดถึงคนอื่นน้อยลงทุกทีๆ ต่างคนต่างสร้างเกราะขึ้นมารอบๆ ตัว สร้างโลกส่วนตัวและปิดตัวเองจากทุกสิ่งรอบข้าง เขาเห็นเพียงแต่สิ่งที่เขาต้องการเห็น ได้ยินเฉพาะสิ่งที่ตัวเองฟัง หัวใจอันเปราะบางบอบช้ำด้วยความเหงาที่กัดกร่อนอยู่ทุกเวลานาทีโดยไม่รู้ตัว
จึงยากเหลือเกินที่จะหวังว่า แต่ละคนจะพยายามเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
น่าเสียดาย คนที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธกลับไม่เชื่อว่า เราต่างก็เวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลายชาติ สะเทินสุขสะเทินทุกข์มานับไม่ถ้วน ยังคงเบียดเบียนตัวเอง และเบียดเบียนกันและกันด้วยความโลภ โกรธ หลงอย่างบ้าคลั่ง
ในสงครามอิรัก ชาวอิรักผู้บริสุทธิ์ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ผู้หญิง คนแก่ นับหมื่นนับแสนถูกฆ่าตายทุกวัน ทหารสหรัฐฯ ก็ตายไปนับพันตั้งแต่เริ่มสงคราม ครู เจ้าหน้าที่ และชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกฆ่าตายไม่เว้นแต่ละวัน
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นต้องตาย และอาจกำลังทนทุกข์อยู่ในบาร์โดอันมืดมิด กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต ไม่รู้ว่าภพใหม่ของเขาจะเป็นไปอย่างไร ไม่ต่างจากขนนกที่ลอยคว้างอยู่ในกระแสพายุแห่งกรรม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นถูกฆ่าตายเพียงเพราะความกลัวของคนที่ฆ่า
และเป็นเรื่องน่าเศร้ากว่านั้น หากเราเพิกเฉยต่อความตายของพวกเขา
โลกนี้คงน่าอยู่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตมิได้มีเพียงชาตินี้ชาติเดียว และชีวิตมิใช่เพียงร่างกาย องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญไปกว่าคือ จิต และจิตนี้เองเป็นตัวกำหนดสุขทุกข์
หากเรารู้แจ้งว่า สภาวะเดิมแท้ของจิตนั้น กระจ่าง ผ่องใส เป็นประภัสสร เป็นสุขเที่ยงแท้ เราคงไม่หลงวนว่ายอยู่ในมายา และเล่ห์กลกลับกลอก
และคงได้พบกับอิสรภาพ
น่าทึ่งว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานนั้น ถ่ายทอดและสืบสานมาจนถึงพวกเราในโลกยุคไร้พรมแดน ด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต “อวิชชา” อาจย่ำยีบีฑาชาวทิเบตจนแทบจะย่อยยับในกาลก่อน และแม้ในปัจจุบัน วิถีชีวิตและพุทธศาสนาก็กำลังถูกท้าทายอยู่อย่างหนักหน่วง
ภาพๆ หนึ่งแทนคำพูดนับล้าน
อย่างน้อย ภาพความศรัทธาของชาวทิเบตในหนังสือก็ทำให้รู้ว่า “อวิชชา” ยังมิอาจหยุดยั้งความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต ทุกๆ วันยังมีคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์ตั้งแต่บ้านเกิดจนถึงหน้าวัดโจคัง ที่ประดิษฐานพระโจโวริมโปเชในนครลาซา กงล้อมนตร์ยังคงหมุนไม่เคยหยุด ธงมนตร์ยังคงสะบัดพลิ้วตามสายลม เสียงแห่งมนตร์มณียังดังประสานไม่เคยขาดสาย
พระพุทธเจ้าสอนว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นอนิจจัง
คงเป็นเรื่องน่าขัน และเป็นความทุกข์ใหญ่หลวง หากเราจะฝืนฉุดรั้งให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างเดิม หรือเป็นไปอย่างใจเราทั้งหมด
ความเหงา ความโลภ ความโกรธ ความหลง การประหัตประหารเข่นฆ่า การทำลายแม้แต่ชีวิตของตัวเอง เป็นวิถีของโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกระแสแห่งกรรม และเหตุปัจจัยอันเป็นธรรมชาติ
แต่ในความมืดก็มีความสว่าง
เมื่อมี “โลก” ก็ต้องมี “เหนือโลก”
ความกรุณาอันไพศาลไร้ขอบเขต ปัญญารู้แจ้ง จิตกระจ่างประภัสสร ร่างรุ้ง เป็นวิถีธรรมที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้
สิ่ง “เหนือโลก” เหล่านี้ ไม่ใช่ “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” แต่เป็น “ธรรมชาติ” ที่ชาวพุทธผู้มีศรัทธามิอาจมองข้ามหรือละเลย
เป็น “หน้าที่” ที่จะต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นจริง
...
ตามตำนานเทพนิยายกรีก เมื่อแพนโดราเปิดหีบต้องห้ามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความชั่วร้ายต่างๆ ก็โบยบินออกมา และเข้าครอบงำจิตใจมนุษย์
สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่คือ ความหวัง
ในความมืดมิด แม้แสงจันทร์แรมก็มีค่า แสงดาวก็มีความหมาย
ในความหนาวเหน็บ กองไฟเล็กๆ ก็มีคุณลึกล้ำ
ขอให้ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” เล่มเล็กๆ นี้เป็นประหนึ่งสายลมที่ทำให้เปลวไฟแห่งความหวังคุขึ้นและโชนแสงในใจของผู้อ่านทุกคน
ความดีย่อมไม่ดับสูญ มีแต่เพิ่มพูนทวี
จัมปา ญีมา
๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
สำนักพิมพ์มูลนิธิพันดารา, 2549
157 หน้า, ราคา 269 บาท
ในไออุ่นของดวงดาว (แห่งความหวัง)
หลังจากที่ได้รับ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” สดๆ ใหม่ๆ เพิ่งออกมาจากโรงพิมพ์ ก็ได้อ่านจบแรกบนรถเมล์ระหว่างเดินทางกลับบ้าน
นับเป็นการเดินทางกลับ “บ้าน” ทั้งภายนอกและภายใน
คลื่นวิทยุบนรถเมล์สายนั้นเปิดเพลงๆ หนึ่งซึ่งเคยโด่งดังมากเมื่อปีสองปีก่อน
“... เเต่พอมองดูคนที่เขามีใคร เเม้ว่าผู้คนจะรายล้อมอยู่ยังเผลอเหงาในใจ
เมื่อไหร่จะมีใครใครสักคนที่เป็นของเรา เมื่อไหร่จะมีใคร ใครสักคนนะที่รักเรา
เท่านี้..ที่ต้องการ ขอเกินไปตรงไหน เมื่อไหร่จะมีใคร ใครสักคนที่เคียงข้างเรา
เเค่อยากจะมี คนที่ทำให้ใจไม่ต้องเหงา.. ไม่รู้..ต้องเมื่อไหร่ เหมือนมันยังห่างไกล..”
(เพลงแอบเหงา)
เนื้อเพลงทั้งเพลงคร่ำครวญถึงความรู้สึกเหงา พูดถึงดวงใจเสาะแสวงหาของคนๆ หนึ่งซึ่งไขว่คว้าคนที่รักและรู้ใจสักคนหนึ่งมาอยู่ข้างกาย ทำลายความเหงาให้หมดไป
ความเหงาที่ถ่ายทอดออกมาจากบทเพลงๆ นี้ทำให้ต้องละสายตาจากบทกวีที่งดงามและเรียบง่ายในหนังสือ เพราะสิ่งที่กำลังซาบซึ้งดื่มด่ำนั้น ช่างแตกต่างเสียเหลือเกินกับความเหงาที่เขารำพัน
บนรถเมล์คันนั้น อาจมีใครหลายๆ คนที่กำลังเหงา แม้นั่งหรือยืนเบียดเสียดอยู่ท่ามกลางคนมากมาย
น่าแปลก ในขณะที่เรามีโทรศัพท์มือถือให้โทร. ฟรีหากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง มีเกมมือถือให้เล่นฆ่าเวลา มีอินเทอร์เน็ตให้พูดคุยกันข้ามทวีป มีโทรทัศน์เปิดค้างอยู่เป็นเพื่อน...
แต่น้อยคนนักจะเป็นอิสระจากความเหงา
ความเหงากำลังเป็น “โรค” ที่ทำให้คนในโลกสมัยใหม่ ทุกเพศทุกวัยต้องทนทุกข์ทรมาน
หายใจออก...
มอบความสุขและสิ่งดีๆ จากตัวคุณให้ผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ครบถ้วน
คุณงามความดี ปัญญา บารมีต่างๆ
ดุจดังสวมอาภรณ์อันวิเศษให้แก่เขา
หายใจเข้า...
เอาความเจ็บปวดของผู้อื่นเข้าไปในตัวคุณ
โรคภัยไข้เจ็บ ความเศร้าหมอง
ความยากจน ความทุกข์ทนต่างๆ
ดุจดังมอบโอสถอันวิเศษให้แก่เขา
ทำเช่นนี้กับคนหนึ่งคน
แล้วเพิ่มเป็นสอง
แล้วเป็นสามไปเรื่อยๆ
จนรวมสัตว์โลกทั้งหลาย
(หน้า 58-59)
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานเป็นเรื่องลี้ลับ มีอะไรมากมายเกินที่จะจดจำ ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะเข้าถึง
แต่แท้ที่จริง วัชรยานเป็นวิถีธรรมที่แสนเรียบง่าย ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกจากความกรุณาและการคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเสมอ ความกรุณานี้เองที่พาเราให้เป็นอิสระจากความทุกข์ และเข้าใจความจริงของ “ธรรมชาติ”
ครั้งหนึ่งฉันเห็นจิ้งจกถูกประตูหนีบ
หางหลุดขาลีบตัวห้อเลือด
ลำคอสั่นระริกหายใจระทวย
ตาฉันปริ่มใจสลดเหลือคณา
ด้วยจิ้งจกนั้นก็คือพ่อหรือแม่
มันเจ็บปวดก็เหมือนเห็นแม่เจ็บปวด
มันรักชีวิตมิยิ่งหย่อนกว่าเรารักชีวิต
มันกลัวเจ็บกลัวตายเช่นเรากลัว
(หน้า 47)
เมื่อเราคิดถึงผู้อื่นก่อนอยู่เสมอ หวั่นไหวแม้ความทุกข์และความตายของสัตว์เล็กๆ ฝึกฝนตนเองให้เป็น “ผู้ให้” อยู่เสมอในทุกลมหายใจ ใจดวงนั้นย่อมยิ่งใหญ่
แล้ว “ความเหงา” ก็กลายเป็นเพียงละอองฝุ่นธุลีเล็กๆ ที่ไร้ความหมาย
หลายๆ คนอาจจะคิดว่า ความเหงาที่ต้องเผชิญในชีวิตนี้ช่างหนักหนาสาหัสเหลือเกิน บางคนทนต่อความเหงาไม่ไหว ไม่รู้จะทำอย่างไร จนกระทั่งคิดทำลายชีวิตตนเอง เพราะหวังว่าความตายจะเป็นที่สุดของความทุกข์ เป็นจุดจบของความเหงา
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า หลังจากที่เราตาย หมดลมหายใจไปแล้ว จะมีช่วงเวลาอีก 49 วันใน “บาร์โด” ที่เราจะต้องทนทุกข์อยู่ในความเหงาที่ยิ่งกว่าความเหงาใดๆ
ตายคือทุกข์ยิ่งทุกข์
หวาดกลัว หวาดหวั่น
...
อนิจจา...
เวทนาที่ขาดสังขาร
เร่ร่อนไร้จุดหมาย
ดังขนนกที่ปลิดปลิว
ตามแรงลมแห่งกรรม
...
เดินทางเดียวดาย
หิวโหย หนาวเหน็บ
(หน้า 94-95)
น่าเศร้าที่ยิ่งวิทยาการก้าวหน้า คนก็ยิ่งคิดถึงแต่ตัวเองมากขึ้น คิดถึงคนอื่นน้อยลงทุกทีๆ ต่างคนต่างสร้างเกราะขึ้นมารอบๆ ตัว สร้างโลกส่วนตัวและปิดตัวเองจากทุกสิ่งรอบข้าง เขาเห็นเพียงแต่สิ่งที่เขาต้องการเห็น ได้ยินเฉพาะสิ่งที่ตัวเองฟัง หัวใจอันเปราะบางบอบช้ำด้วยความเหงาที่กัดกร่อนอยู่ทุกเวลานาทีโดยไม่รู้ตัว
จึงยากเหลือเกินที่จะหวังว่า แต่ละคนจะพยายามเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
น่าเสียดาย คนที่ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธกลับไม่เชื่อว่า เราต่างก็เวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลายชาติ สะเทินสุขสะเทินทุกข์มานับไม่ถ้วน ยังคงเบียดเบียนตัวเอง และเบียดเบียนกันและกันด้วยความโลภ โกรธ หลงอย่างบ้าคลั่ง
อีกหนึ่งนั้นเสียงร่ำไห้
เวทนาผู้ผูกพัน
รัก โลภ โกรธ หลงกัน
ด้วยยึดมั่นเพียงชาติเดียว
(หน้า 31)
ในสงครามอิรัก ชาวอิรักผู้บริสุทธิ์ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ผู้หญิง คนแก่ นับหมื่นนับแสนถูกฆ่าตายทุกวัน ทหารสหรัฐฯ ก็ตายไปนับพันตั้งแต่เริ่มสงคราม ครู เจ้าหน้าที่ และชาวบ้านในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกฆ่าตายไม่เว้นแต่ละวัน
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นต้องตาย และอาจกำลังทนทุกข์อยู่ในบาร์โดอันมืดมิด กำลังอยู่ในช่วงวิกฤต ไม่รู้ว่าภพใหม่ของเขาจะเป็นไปอย่างไร ไม่ต่างจากขนนกที่ลอยคว้างอยู่ในกระแสพายุแห่งกรรม
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขาเหล่านั้นถูกฆ่าตายเพียงเพราะความกลัวของคนที่ฆ่า
และเป็นเรื่องน่าเศร้ากว่านั้น หากเราเพิกเฉยต่อความตายของพวกเขา
“โอม มณี เปเม ฮุง”
สวดไป สวดไป
ให้ได้เกิดใหม่
ให้ได้ยินพระธรรม
(หน้า 96)
โลกนี้คงน่าอยู่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตมิได้มีเพียงชาตินี้ชาติเดียว และชีวิตมิใช่เพียงร่างกาย องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญไปกว่าคือ จิต และจิตนี้เองเป็นตัวกำหนดสุขทุกข์
หากเรารู้แจ้งว่า สภาวะเดิมแท้ของจิตนั้น กระจ่าง ผ่องใส เป็นประภัสสร เป็นสุขเที่ยงแท้ เราคงไม่หลงวนว่ายอยู่ในมายา และเล่ห์กลกลับกลอก
และคงได้พบกับอิสรภาพ
ไม่ขังใจ
ปล่อยใจแต่ดูใจ
ทำใจให้ว่าง ใสชัด
ไม่ตามใจไป
ความคิดดีปล่อยไป
ความคิดไม่ดีปล่อยไป
ใจไม่สับสน มืดมน
(หน้า 29)
น่าทึ่งว่า วิถีพุทธธรรมวัชรยานนั้น ถ่ายทอดและสืบสานมาจนถึงพวกเราในโลกยุคไร้พรมแดน ด้วยหัวใจอันยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต “อวิชชา” อาจย่ำยีบีฑาชาวทิเบตจนแทบจะย่อยยับในกาลก่อน และแม้ในปัจจุบัน วิถีชีวิตและพุทธศาสนาก็กำลังถูกท้าทายอยู่อย่างหนักหน่วง
ทิเบตใหม่
มาพร้อมกับสมบัติใหม่
ที่โลกในอดีต
ไม่เคยมี
เคยขี่ม้าลาจามรี
แต่วันนี้
ขี่มอเตอร์ไซค์
แสนสุขใจ
(หน้า 80-81)
ภาพๆ หนึ่งแทนคำพูดนับล้าน
อย่างน้อย ภาพความศรัทธาของชาวทิเบตในหนังสือก็ทำให้รู้ว่า “อวิชชา” ยังมิอาจหยุดยั้งความศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต ทุกๆ วันยังมีคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์ตั้งแต่บ้านเกิดจนถึงหน้าวัดโจคัง ที่ประดิษฐานพระโจโวริมโปเชในนครลาซา กงล้อมนตร์ยังคงหมุนไม่เคยหยุด ธงมนตร์ยังคงสะบัดพลิ้วตามสายลม เสียงแห่งมนตร์มณียังดังประสานไม่เคยขาดสาย
ขอนำพาบิดาทางขวา
ขอนำพามารดาทางซ้าย
เพื่อนพ้องพี่น้องด้านหลัง
ศัตรูผู้ชิงชังด้านหน้า
แวดล้อมด้วยสัตว์โลกทั่วนภากาศ
พนมกรพร้อมตั้งจิต
ต่อเบื้องพระพักตร์คุรุพุทธเจ้า
ด้วยโพธิจิตที่แผ่ซ่านไปทั้งสรรพางค์กาย
จะขอยึดพระมณฑลอันอุดมด้วยความกรุณา
ไปจนกว่าจะถึงการตรัสรู้
(หน้า 107)
พระพุทธเจ้าสอนว่า สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นอนิจจัง
คงเป็นเรื่องน่าขัน และเป็นความทุกข์ใหญ่หลวง หากเราจะฝืนฉุดรั้งให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างเดิม หรือเป็นไปอย่างใจเราทั้งหมด
ความเหงา ความโลภ ความโกรธ ความหลง การประหัตประหารเข่นฆ่า การทำลายแม้แต่ชีวิตของตัวเอง เป็นวิถีของโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง
ทุกอย่างล้วนเป็นไปตามกระแสแห่งกรรม และเหตุปัจจัยอันเป็นธรรมชาติ
แต่ในความมืดก็มีความสว่าง
เมื่อมี “โลก” ก็ต้องมี “เหนือโลก”
ความกรุณาอันไพศาลไร้ขอบเขต ปัญญารู้แจ้ง จิตกระจ่างประภัสสร ร่างรุ้ง เป็นวิถีธรรมที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้
สิ่ง “เหนือโลก” เหล่านี้ ไม่ใช่ “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” แต่เป็น “ธรรมชาติ” ที่ชาวพุทธผู้มีศรัทธามิอาจมองข้ามหรือละเลย
เป็น “หน้าที่” ที่จะต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นจริง
...
ตามตำนานเทพนิยายกรีก เมื่อแพนโดราเปิดหีบต้องห้ามด้วยความอยากรู้อยากเห็น ความชั่วร้ายต่างๆ ก็โบยบินออกมา และเข้าครอบงำจิตใจมนุษย์
สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่คือ ความหวัง
ในความมืดมิด แม้แสงจันทร์แรมก็มีค่า แสงดาวก็มีความหมาย
ในความหนาวเหน็บ กองไฟเล็กๆ ก็มีคุณลึกล้ำ
ขอให้ “แสงจันทร์เหนือยอดสน กับความทรงจำอันงดงาม” เล่มเล็กๆ นี้เป็นประหนึ่งสายลมที่ทำให้เปลวไฟแห่งความหวังคุขึ้นและโชนแสงในใจของผู้อ่านทุกคน
ความดีย่อมไม่ดับสูญ มีแต่เพิ่มพูนทวี
จัมปา ญีมา
๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
Thursday, January 04, 2007
Submission Closed
The deadline for submission of abstracts to the Eighth Asian Bioethics Conference has now passed. I will announce the abstracts selected for presentation in the website and in this blog in the next few days.
Wednesday, January 03, 2007
วิถีแห่งพระอภิตาภพุทธเจ้า
ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิพันดารา
ขอเชิญฟังการบรรยายและอบรมกรรมฐาน
เรื่อง
“วิถีแห่งพระอมิตาภพุทธเจ้า
และมรณสติแบบทิเบต”
(Conference and Meditation Training on “Buddha Amitabha’s Way and Tibetan Mindfulness of Death”)
วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 27-28 มกราคม 2550
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“อมิตาภะ” แปลว่า “แสงสว่างอันหาที่สุดมิได้” พระพุทธเจ้าอมิตาภะ เป็นพระพุทธเจ้าที่สำคัญอย่างยิ่งพระองค์หนึ่ง ทรงเป็นตัวแทนของความเมตตากรุณา ทรงตั้งมหาปณิธานว่าจะไม่ทรงจากไปจนกว่าสัตว์โลกทั้งปวงจะพ้นจากอบายภูมิ ว่ากันว่าทรงสถิตอยู่ ณ แดนสุขาวดีพุทธเกษตรทางทิศตะวันตก เป็นดินแดนที่เปี่ยมไปด้วยความสุข อีกภาคหนึ่งของพระอมิตาภะ คือ พระอมิตายุส ซึ่งแปลว่า “อายุยืนยาวอันหาที่สุดมิได้” นอกจากนี้ พระองค์ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับพระอวโลกิ-เตศวร พระแม่ตาราขาว และพระคุรุปัทมสมภพด้วย
พุทธศาสนามหายานและวัชรยานมีคัมภีร์และวิถีการปฏิบัติที่ผูกพันกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะเป็นอย่างมาก คาถา “นโม อมิ- ตาภะ” เป็นคำติดปากของชาวพุทธทั่วไป มีสายการปฏิบัติที่เรียกว่า “นิกายสุขาวดี” ซึ่งเน้นบูชาพระอมิตาภะโดยตรง ชาวพุทธมีความศรัทธาว่าพระอมิตาภะทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลายตราบเท่าที่ยังต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏ พระองค์จะประทานพรให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว ส่วนสัตว์ที่ใกล้จะตาย หรือสัตว์ที่กำลังเวียนว่ายอยู่ในอันตรภพ หากได้สวดขอพร หรือมีผู้สวดขอพรให้ หรือแม้แต่ได้ยินเพียงพระนามของพระองค์ก็จะพ้นจากความทุกข์ และได้ไปบังเกิดในแดนสุขาวดี
ปัจจุบันนี้ โลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตด้วยภัยธรรมชาติ โรคระบาด สงคราม และการเข่นฆ่าทำลายล้าง ซึ่งล้วนแต่มีบ่อเกิดจากความหวาดกลัวและความพยาบาทเกลียดชัง วิถีของพระอมิตาภะอันเป็นวิถีแห่งความเมตตากรุณา จึงเป็นสิ่งที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสภาพการณ์ของโลกในขณะนี้ ชาวพุทธน่าจะได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตามวิถีแห่งพระอมิตาภะ เพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สงบร่มเย็น ทั้งยังสามารถที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์ได้อีกด้วย
มูลนิธิพันดาราจึงตั้งใจที่จะจัดการบรรยายและการอบรมเรื่อง “วิถีแห่งพระอมิตาภะและมรณสติแบบทิเบต” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอมิตาภะในหลากหลายมิติ ทั้งคัมภีร์ พิธีกรรม สายการปฏิบัติ วิถีการปฏิบัติและการฝึกสมาธิที่เกี่ยวเนื่องกับพระอมิตาภะ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ แนวทางการเจริญมรณสติแบบทิเบตหรือ “บาร์โด” และการทำพิธี “โพวา” หรือการส่งวิญญาณไปสู่สุคติให้แพร่หลายกว้างขวางและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียน บุคคลทั่วไป 800 บาท สมาชิกมูลนิธิพันดารา 600 บาท พระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี แม่ชี และนิสิตนักศึกษา 400 บาทมีอาหารว่างและอาหารกลางวัน (มังสวิรัติ) บริการ
การลงทะเบียนล่วงหน้า กรุณาโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้:
ชื่อบัญชี (ออมทรัพย์): มูลนิธิพันดารา
บัญชีเลขที่: 052-0-02254-8
ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
เมื่อโอนเงินแล้ว กรุณาแจ้งให้มูลนิธิทราบทางโทรสาร 02 528-5308 หรือทาง e-mail: krisadawan@thousand-stars.org
สำรองที่นั่ง
ผู้สนใจ กรุณาสำรองที่นั่งที่ ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ โทร. 02 218 4756 โทรสาร 02 218 4755 e-mail: soraj@thousand-stars.org หรือที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 086 046-6625 email: areeratana@cpbequity.co.th รายละเอียดเพิ่มเติมและกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิพันดารา โปรดติดตามได้จากเว็บไซต์ www.thousand-stars.org
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2550
วิทยากร: พระลามะฑากินีปัลเดน เชอโซ (Ven. Kandroma Palden Chotsho) ฑากินีอาศรม
8.30-9.00 ลงทะเบียน
9.00-10.00 คำสอนพื้นฐานว่าด้วยบาร์โด
10.00-10.30 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.30-11.30 การส่งวิญญาณผู้ตาย (โพวา)
11.30-12.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน
12.30-14.00 การฝึกสมาธิถึงพระอมิตาภพุทธเจ้า
14.00-14.30 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
14.30-16.00 การฝึกสมาธิถึงพระอมิตาภพุทธเจ้าและการฝึกโพวา
16.00-16.30 ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2550
8.30-9.00 ลงทะเบียน
9.00-9.45 กำเนิดมหายาน
รศ. ดร. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
9.45-10.30 พระอมิตาภพุทธเจ้ากับพระพุทธศาสนาแบบจีน
อ. เศรษฐพงศ์ จงสงวน
10.30-11.00 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
11.00-11.45 สุขาวดีสำนักฌิน
รศ. ดร. ประทุม อังกูรโรหิต
11.45-12.45 พักรับประทานอาหารกลางวัน
12.45-13.45 ทำความเข้าใจพิธีกรรมส่งวิญญาณผู้ตาย (กงเต็ก)
อ. เศรษฐพงศ์ จงสงวน
13.45-15.00 การเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง "นิกายสุขาวดี แดนสุขาวดีกับโลกพระศรีอาริย์"
วิทยากรร่วมเสวนา: ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ รศ. ดร. สมภาร พรมทา รศ. ดร.
ประทุม อังกูรโรหิต อ. เศรษฐพงศ์ จงสงวน ดำเนินรายการ: รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
15.00-15.15 ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสวนา
15.15-15.30 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
15.30-17.30 พิธีมนตราภิเษกพระแม่ตาราขาวเพื่อขอให้ประทานอายุยืนและเพื่อการปฏิบัติบูชาในชีวิตประจำวัน (White Tara Empowerment)
ผู้ประกอบพิธี: พระลามะฑากินีปัลเดน เชอโซ
Subscribe to:
Posts (Atom)