International Symposium on Discourse, Communication and Modernity
Friday, 7 September, 2007
105 Mahachulalongkorn Building
Chulalongkorn University
Organized by the Division of Research Affairs; Center for Ethics of Science and Technology; Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
In cooperation with the RGJ Ph.D Research Grant, Thailand Research Fund
The symposium is part of the research project “Discourse and Modernity” in honor of His Majesty the King’s 80th Birthday, funded by the Division of Research Affairs, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, 2007-2008.
Please register in advance by sending a fax to the Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, 02-218-4695. No registration fees.
Tentative Program
8.30-9.00 Registration
8.50-9.00 Opening Ceremony
8.50-8.55 Report
Krisadawan Hongladarom (Chair, Organizing Committee; International Consultation Board, International Pragmatic Association/IPrA)
8.55-9.00 Opening Address
Dean, Faculty of Arts
9.00-10.00 Keynote Address
Sachiko Ide (President, IPrA; Japan Women’s University)
10.00-10.30 Coffee Break
10.30-12.30 Panel on "Making Sense of Discourse in Thai Contemporary Culture"
10.30-11.00 Instantaneous enlightenment: Cyberdiscourse about Buddhism in Thai society
Krisadawan Hongladarom and Soraj Hongladarom (Chulalongkorn University)
11.00-11.30 Ideology in Internet-mediated Discourse: A case study of web boards on Thai politics
Wirote Aroonmanakun (Chulalongkorn University)
11.30-12.00 Women in politics and prospects for development: A critical analysis of discourse of Thai politicians
Savitri Gadavanij (National Institute of Development Administration)
12.00-12.30 Tourism discourse in consumerist culture
Tepee Jaratjarungkiat (Chulalongkorn University)
12.30-13.30 Lunch Break
13.30-15.30 Panel on "Communication in the Modern World"
13.00-13.45 Cross-cultural differences in advice giving by Japanese and English speakers
Keiko Abe (International Consultation Board, IPrA; Kyoritsu Women's University)
13.45-14.30 What causes differences in the processes of mutual consent?: A comparison of story co-construction by Japanese and American pairs
Yoko Fujii (Japan Women’s University)
14.30-15.00 ‘I hate you’ or otherwise ‘I’m busy’: A cross-cultural view of truth and lies in British English and Thai
Songthama Intachakra (Thammasat University)
15.00-15.30 Final message before a disaster: Communication at high-risk environment
Paneeta Nitayaphorn (Chulalongkorn University)
15.30-16.00 Coffee Break
16.00-18.00 Panel on "Discursive Construction of Knowledge on Health, Beauty and Disease"
16.00-16.30 “A smart person knows how to consume healthily”: A study of advertising discourse on health products and services in Thai
Siriporn Phakdeephasook (Chulalongkorn University)
16.30-17.00 "Being unattractive is having a disease": On the advertising discourse of cosmetic surgery in Thai
Nattaporn Panpothong (Chulalongkorn University)
17.00-17.30 "Cancer can be cured naturally": Language strategies in Thai alternative medicine discourse
Worawanna Phetchkit (Chulalongkorn University)
17.30-18.00 Language and identity in AIDS discourse: Identity construction of
people with HIV/AIDS”
Jantima Earmanond (Ubonrajathani University)
Saturday, July 28, 2007
Thursday, July 26, 2007
ความสุขในสังคมสมัยใหม่
การประชุมวิชาการ
“ความสุขในสังคมสมัยใหม่:
จิตวิญญาณ สังคมและวิทยาศาสตร์”
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 18-19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 18.00 น.
จัดโดยกลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและเหตุผล
ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร สังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยบริโภคนิยม มักให้ความหมายว่า ความสุขคือสิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน และเป็นสิ่งเดียวกันกับความพึงพอใจทางเนื้อหนัง หรือการได้บำรุงบำเรอประสาทสัมผัสต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ยิ่งเราใช้จ่ายบริโภคไปเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าเรายิ่งห่างไกลจากความสุขไปเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งที่ต้องการมา ก็กลับไม่พอใจกับสิ่งนั้น ก็เลยต้องแสวงหาต่อไปอีก และก็วนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จบสิ้น ความสุขในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นอะไรที่ผู้คนพยายามไขว่คว้า แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับ ดูเหมือนว่าการพูด การคิด การกระทำทั้งหลายในสังคมสมัยใหม่จะมีแต่เพื่อให้เกิดความสุข แต่กลับไม่พบความสุขที่แท้จริง ผู้คนก็ยังเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ด้วยประการต่างๆ
กล่าวโดยรวมก็คือ ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน แต่ในท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการบริโภคเช่นที่เป็นอยู่นี้ ความสุขกลับกลายเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล เราอาจเปรียบได้กับม้าที่วิ่งอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะอยากกินแครอทที่แขวนอยู่ข้างหน้ากับหลักที่ติดอยู่กับอานม้า ไม่ว่าม้าจะวิ่งไปมากเท่าใดหรือเร็วเท่าใด ก็ไม่ได้กินแครอทเสียที ภาพนี้สามารถอธิบายสภาพของสังคมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี การพูดเกี่ยวกับความสุขมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครมีความสุขเลย
นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขก็ยังเรียกได้ว่าเป็น “สิ่งต้องห้าม” สำหรับนักวิชาการ เนื่องจากความสุขเป็นยอดปรารถนาแต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครได้ครอบครอง นักวิชาการจึงมักจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขโดยตรง เหตุผลหนึ่งก็คือมักจะมีการอ้างว่า การนิยามว่าความสุขคืออะไรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็น่าประหลาดใจที่เป็นเช่นนี้ เพราะทุกคนพูดถึงความสุข อยากมีความสุข ดังนั้นการบอกว่าไม่มีใครรู้แน่ว่าความสุขคืออะไรจึงเป็นเรื่องแปลก เพราะหากไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร หรือจะนิยามความสุขว่าอย่างไร จะปรารถนาความสุขได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับนักวิชาการทั่วๆไปก็คือว่า นอกจากจะนิยามคำว่า “ความสุข” ได้ค่อนข้างลำบากแล้ว ก็ยังประสบปัญหาว่าจะวัดปริมาณของความสุขได้อย่างไร ประเทศภูฐานเป็นประเทศแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้อเลียนแนวคิดเกี่ยวกับ “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” ในเศรษฐศาสตร์
ความแตกต่างกันก็คือว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นจำนวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดของผู้คนในประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นมาตรวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการกระพือกระแสแนวคิดที่ว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นยอดปรารถนาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในประเทศนั้นมี “ความสุข” หรือมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัญหานานับประการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ ที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากการพัฒนาผลผลิตมวลรวมเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น อัตราการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติซึ่งคุกคามวิถีชีวิตดั้งเดิม และอีกหลายประการ แม้จะโหมโฆษณาว่า การเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นยอดปรารถนาของสังคม ซึ่งก็มีนัยยะว่าการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวเป็นหนทางสู่ความสุข แต่ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความสุขนั้นแท้จริงแล้วดูจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังที่เคยคิดกัน
ดังนั้น ประเทศภูฐานจึงประกาศว่า จะให้ความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นดัชนีในการพัฒนา แทนที่จะเป็นผลผลิตมวลรวม ซึ่งแนวคิดนี้ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน นอกจากนี้ในปัจจุบัน แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เริ่มให้ความสนใจกับความสุขมากยิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับสถานะของสมองเมื่อมีความสุข หรือบทบาทของการฝึกจิตแบบพระพุทธศาสนาต่อการทำงานทางสรีรวิทยาของสมอง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการแสดงการเชื่อมโยงกันโดยตรงของสรีรวิทยา และมิติที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมเช่นเรื่องความสุขนี้
เมื่อสถานการณ์ของโลกสมัยใหม่กับความสุขเป็นเช่นนี้ จึงควรที่เราจะมาศึกษาวิจัย และทำความเข้าใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทของความสุขในสังคมสมัยใหม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดความสุขขึ้นมาได้ โดยที่ไม่ใช่ความสุขที่โฆษณาทางสื่อมวลชน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทยสมัยใหม่ก็คือว่า ผู้คนเริ่มโหยหาคำตอบทางจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคไม่สามารถให้ความสุขได้ ผู้คนเริ่มหันมามองหาทางเลือกอื่นๆ และมิติทางจิตวิญญาณหรือศาสนานี้เองที่จะเป็นคำตอบได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ติดอยู่ในกับดักของบริโภคนิยม โดยต้องไม่หลงไปกับ “บริโภคนิยมทางจิตวิญญาณ” (spiritual consumerism) ซึ่งเกิดจากการทำมิติทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสินค้าที่มาบริโภคกัน ไม่ต่างจากสินค้าและบริการประเภทอื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ดังนั้นเป้าหมายประการหนึ่งของการประชุมนี้ก็คือ การพยายามหาคำตอบว่า ความสุขนั้นจะหามาได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขท่ามกลางกระแสของสังคมสมัยใหม่ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยที่มุ่งศึกษาวิจัยความสุขในมิติต่างๆเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาที่การประชุมนี้มุ่งจะให้คำตอบ
วัตถุประสงค์
(1)เสนอทางออกให้แก่ผู้คนในสังคมสมัยใหม่ว่าความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะได้มาได้อย่างไร
(2)เสนอแง่มุมใหม่ของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสุขจากมุมมองของวิชาการสาขาต่างๆ เช่นจิตวิทยา ประสาทวิทยา เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอื่นๆ
(3)กระตุ้นความสนใจที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับความสุขในแง่มุมต่างๆในสังคมไทย
การลงทะเบียน
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ Email: areeratana@cpbequity.co.th โทร. 081-648-1195 คุณธนิตา ประภาตะนันทน์ Email: thanita_ps@hotmail.com โทร. 089-208-7611 หรือคุณอรุณี มุศิริ a_musiri@yahoo.com โทร. 089-481-7754
กำหนดการ
เสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-9.30 เปิดการประชุม
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
9.30-10.15 ความสุข ภาวะสูงวัย และจิตวิญญาณ
ประสาน ต่างใจ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 ความสุข วิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนา
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาจีน
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ความสุขในฐานะคุณค่าของสังคม
วีระ สมบูรณ์
13.45-14.30 ความสุขของผู้ทำงานเพื่อสังคม
พิมใจ อินทะมูล
14.30-15.15 ความสุข จิตวิญญาณ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สิวลี ศิริไล
15.15-15.30 พักรับประทานน้ำชา
15.30-16.15 “ความสุขของกะทิ”
งามพรรณ เวชชาชีวะ
16.15-17.00 ทำการสอบให้เป็นคำตอบของความสุข
สรยุทธ รัตนพจนารถ
17.00-17.45 เหตุใดสิ่งดีๆจึงมักจะเกิดกับคนดีๆ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม
9.00-9.30 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.30-10.15 สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสุข
วิจิตร บุณยะโหตระ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 นักทำใจให้เป็นสุข
กำพล ทองบุญนุ่ม
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาอินเดีย
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ดัชนีวัดความสุขกับโลกาภิวัตน์
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ
13.45-15.00 ความสุขในพระพุทธศาสนา
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
15.00-15.15 พักรับประทานน้ำชา
15.15-15.45 ภาพยนตร์เรื่อง "เรื่องจริงบนแดนหลังคาโลก"
15.45-17.45 เสวนาพิเศษเรื่อง "ความสุขหลังเลนส์ ความสุขบริสุทธิ์ และความสุขแบบทิเบต"
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์
ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
ปรัชวัณ เกตวัลย์
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
“ความสุขในสังคมสมัยใหม่:
จิตวิญญาณ สังคมและวิทยาศาสตร์”
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 18-19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 18.00 น.
จัดโดยกลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักการและเหตุผล
ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร สังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยบริโภคนิยม มักให้ความหมายว่า ความสุขคือสิ่งที่ซื้อได้ด้วยเงิน และเป็นสิ่งเดียวกันกับความพึงพอใจทางเนื้อหนัง หรือการได้บำรุงบำเรอประสาทสัมผัสต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า ยิ่งเราใช้จ่ายบริโภคไปเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าเรายิ่งห่างไกลจากความสุขไปเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อใช้จ่ายซื้อสิ่งที่ต้องการมา ก็กลับไม่พอใจกับสิ่งนั้น ก็เลยต้องแสวงหาต่อไปอีก และก็วนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จบสิ้น ความสุขในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นอะไรที่ผู้คนพยายามไขว่คว้า แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับ ดูเหมือนว่าการพูด การคิด การกระทำทั้งหลายในสังคมสมัยใหม่จะมีแต่เพื่อให้เกิดความสุข แต่กลับไม่พบความสุขที่แท้จริง ผู้คนก็ยังเต็มไปด้วยความทุกข์อยู่ด้วยประการต่างๆ
กล่าวโดยรวมก็คือ ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน แต่ในท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและการบริโภคเช่นที่เป็นอยู่นี้ ความสุขกลับกลายเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล เราอาจเปรียบได้กับม้าที่วิ่งอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะอยากกินแครอทที่แขวนอยู่ข้างหน้ากับหลักที่ติดอยู่กับอานม้า ไม่ว่าม้าจะวิ่งไปมากเท่าใดหรือเร็วเท่าใด ก็ไม่ได้กินแครอทเสียที ภาพนี้สามารถอธิบายสภาพของสังคมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี การพูดเกี่ยวกับความสุขมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครมีความสุขเลย
นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขก็ยังเรียกได้ว่าเป็น “สิ่งต้องห้าม” สำหรับนักวิชาการ เนื่องจากความสุขเป็นยอดปรารถนาแต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครได้ครอบครอง นักวิชาการจึงมักจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสุขโดยตรง เหตุผลหนึ่งก็คือมักจะมีการอ้างว่า การนิยามว่าความสุขคืออะไรเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็น่าประหลาดใจที่เป็นเช่นนี้ เพราะทุกคนพูดถึงความสุข อยากมีความสุข ดังนั้นการบอกว่าไม่มีใครรู้แน่ว่าความสุขคืออะไรจึงเป็นเรื่องแปลก เพราะหากไม่รู้ว่าความสุขคืออะไร หรือจะนิยามความสุขว่าอย่างไร จะปรารถนาความสุขได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับนักวิชาการทั่วๆไปก็คือว่า นอกจากจะนิยามคำว่า “ความสุข” ได้ค่อนข้างลำบากแล้ว ก็ยังประสบปัญหาว่าจะวัดปริมาณของความสุขได้อย่างไร ประเทศภูฐานเป็นประเทศแรกที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ล้อเลียนแนวคิดเกี่ยวกับ “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” ในเศรษฐศาสตร์
ความแตกต่างกันก็คือว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นจำนวนการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดของผู้คนในประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นมาตรวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการกระพือกระแสแนวคิดที่ว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติเป็นยอดปรารถนาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในประเทศนั้นมี “ความสุข” หรือมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัญหานานับประการที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ ที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงจากการพัฒนาผลผลิตมวลรวมเช่นนี้ ตัวอย่างเช่น อัตราการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติซึ่งคุกคามวิถีชีวิตดั้งเดิม และอีกหลายประการ แม้จะโหมโฆษณาว่า การเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นยอดปรารถนาของสังคม ซึ่งก็มีนัยยะว่าการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวเป็นหนทางสู่ความสุข แต่ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความสุขนั้นแท้จริงแล้วดูจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มผลผลิตมวลรวม หรืออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังที่เคยคิดกัน
ดังนั้น ประเทศภูฐานจึงประกาศว่า จะให้ความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นดัชนีในการพัฒนา แทนที่จะเป็นผลผลิตมวลรวม ซึ่งแนวคิดนี้ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน นอกจากนี้ในปัจจุบัน แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เริ่มให้ความสนใจกับความสุขมากยิ่งขึ้น โดยมีงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับสถานะของสมองเมื่อมีความสุข หรือบทบาทของการฝึกจิตแบบพระพุทธศาสนาต่อการทำงานทางสรีรวิทยาของสมอง เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการแสดงการเชื่อมโยงกันโดยตรงของสรีรวิทยา และมิติที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมเช่นเรื่องความสุขนี้
เมื่อสถานการณ์ของโลกสมัยใหม่กับความสุขเป็นเช่นนี้ จึงควรที่เราจะมาศึกษาวิจัย และทำความเข้าใจกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับบทบาทของความสุขในสังคมสมัยใหม่ ว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดความสุขขึ้นมาได้ โดยที่ไม่ใช่ความสุขที่โฆษณาทางสื่อมวลชน ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในสังคมไทยสมัยใหม่ก็คือว่า ผู้คนเริ่มโหยหาคำตอบทางจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคไม่สามารถให้ความสุขได้ ผู้คนเริ่มหันมามองหาทางเลือกอื่นๆ และมิติทางจิตวิญญาณหรือศาสนานี้เองที่จะเป็นคำตอบได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ติดอยู่ในกับดักของบริโภคนิยม โดยต้องไม่หลงไปกับ “บริโภคนิยมทางจิตวิญญาณ” (spiritual consumerism) ซึ่งเกิดจากการทำมิติทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสินค้าที่มาบริโภคกัน ไม่ต่างจากสินค้าและบริการประเภทอื่น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย ดังนั้นเป้าหมายประการหนึ่งของการประชุมนี้ก็คือ การพยายามหาคำตอบว่า ความสุขนั้นจะหามาได้อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขท่ามกลางกระแสของสังคมสมัยใหม่ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยที่มุ่งศึกษาวิจัยความสุขในมิติต่างๆเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาที่การประชุมนี้มุ่งจะให้คำตอบ
วัตถุประสงค์
(1)เสนอทางออกให้แก่ผู้คนในสังคมสมัยใหม่ว่าความสุขที่แท้จริงและยั่งยืนนั้น จะได้มาได้อย่างไร
(2)เสนอแง่มุมใหม่ของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสุขจากมุมมองของวิชาการสาขาต่างๆ เช่นจิตวิทยา ประสาทวิทยา เศรษฐศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา พยาบาลศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอื่นๆ
(3)กระตุ้นความสนใจที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับความสุขในแง่มุมต่างๆในสังคมไทย
การลงทะเบียน
ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ Email: areeratana@cpbequity.co.th โทร. 081-648-1195 คุณธนิตา ประภาตะนันทน์ Email: thanita_ps@hotmail.com โทร. 089-208-7611 หรือคุณอรุณี มุศิริ a_musiri@yahoo.com โทร. 089-481-7754
กำหนดการ
เสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-9.30 เปิดการประชุม
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
9.30-10.15 ความสุข ภาวะสูงวัย และจิตวิญญาณ
ประสาน ต่างใจ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 ความสุข วิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนา
วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาจีน
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ความสุขในฐานะคุณค่าของสังคม
วีระ สมบูรณ์
13.45-14.30 ความสุขของผู้ทำงานเพื่อสังคม
พิมใจ อินทะมูล
14.30-15.15 ความสุข จิตวิญญาณ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
สิวลี ศิริไล
15.15-15.30 พักรับประทานน้ำชา
15.30-16.15 “ความสุขของกะทิ”
งามพรรณ เวชชาชีวะ
16.15-17.00 ทำการสอบให้เป็นคำตอบของความสุข
สรยุทธ รัตนพจนารถ
17.00-17.45 เหตุใดสิ่งดีๆจึงมักจะเกิดกับคนดีๆ
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
อาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม
9.00-9.30 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.30-10.15 สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสุข
วิจิตร บุณยะโหตระ
10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา
10.45-11.30 นักทำใจให้เป็นสุข
กำพล ทองบุญนุ่ม
11.30-12.15 ความสุขในปรัชญาอินเดีย
ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 ดัชนีวัดความสุขกับโลกาภิวัตน์
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ
13.45-15.00 ความสุขในพระพุทธศาสนา
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
15.00-15.15 พักรับประทานน้ำชา
15.15-15.45 ภาพยนตร์เรื่อง "เรื่องจริงบนแดนหลังคาโลก"
15.45-17.45 เสวนาพิเศษเรื่อง "ความสุขหลังเลนส์ ความสุขบริสุทธิ์ และความสุขแบบทิเบต"
อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์
ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์
ปรัชวัณ เกตวัลย์
กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Monday, July 09, 2007
การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์
มูลนิธิพันดารา
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟัง
การบรรยายและการอบรมเรื่อง
"การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์"
วิทยากร: Dr. Tsedor Nyerongsha นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการการประชุม
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-10.30 การบรรยายเรื่อง "การรักษาโรคแบบทิเบต: ประสบการณ์ของหมอในตระกูลแพทย์ 7 รุ่นอายุ"
Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.45-12.15 ภาพยนตร์เรื่อง The New Medicine
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การอภิปรายเรื่อง "การแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก: ทางออกสำหรับสังคมไทย"
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการ)
14.30-15.00 พักน้ำชา/กาแฟ
15.00-16.30 การบำบัดโรคมะเร็ง: มุมมองจากศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์ (Human science of cancer)
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
รายละเอียดเพิ่มเติม
*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า*
ติดต่อ: คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 081-648-1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
คุณอรุณี มุศิริ โทร. 089-481-7754 Email: a_musiri@yahoo.com
ร่วมกับศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟัง
การบรรยายและการอบรมเรื่อง
"การรักษาโรคแบบทิเบต การบำบัดโรคมะเร็ง และศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์"
วิทยากร: Dr. Tsedor Nyerongsha นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00-16.30 น.
ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการการประชุม
8.30-9.00 ลงทะเบียน/รับเอกสาร
9.00-10.30 การบรรยายเรื่อง "การรักษาโรคแบบทิเบต: ประสบการณ์ของหมอในตระกูลแพทย์ 7 รุ่นอายุ"
Dr. Tsedor Nyerongsha (Nyerongsha Medical Institute, Lhasa)
10.30-10.45 พักรับประทานน้ำชา/กาแฟ
10.45-12.15 ภาพยนตร์เรื่อง The New Medicine
12.15-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 การอภิปรายเรื่อง "การแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก: ทางออกสำหรับสังคมไทย"
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ (ผู้ร่วมอภิปรายและดำเนินรายการ)
14.30-15.00 พักน้ำชา/กาแฟ
15.00-16.30 การบำบัดโรคมะเร็ง: มุมมองจากศาสตร์แห่งความเป็นมนุษย์ (Human science of cancer)
นพ. นพดล โสภารัตนาไพศาล
รายละเอียดเพิ่มเติม
*ไม่เก็บค่าลงทะเบียน โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า*
ติดต่อ: คุณอารีรัตน์ ศิริคูณ โทร. 081-648-1195 Email: areeratana@cpbequity.co.th หรือ
คุณอรุณี มุศิริ โทร. 089-481-7754 Email: a_musiri@yahoo.com
Monday, July 02, 2007
Website Up Again!
The website of the Center for Ethics of Science and Technology is now up and running.
Subscribe to:
Posts (Atom)