Tuesday, July 29, 2008

Presentation Files

Here are presentation files for the talk on Human Enhancement: Ethical Issues and Nanotechnology and Asian Values. The first talk was given on July 4, 2008 at Chulalongkorn University and the other at National University of Singapore on July 28, 2008.

Saturday, July 26, 2008

Mind and Life: Perspectives from Buddhism and Science

โครงการจัดการประชุมวิชาการ

“จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์”

(Mind and Life: Perspectives from Buddhism and Science)



ห้อง 210 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 29-30 สิงหาคม พ.ศ. 2551



หลักการและเหตุผล

การประชุมนี้เป็นการประชุมต่อเนื่องของ “กลุ่มสนทนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์พันดารา” (The Thousand Stars Buddhism and Science Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของนักวิชาการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของมูลนิธิพันดาราและศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสนทนานี้สนใจแง่มุมต่างๆที่พระพุทธศาสนาสามารถแลกเปลี่ยนกันได้กับวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจระหว่างกันอันจะนำไปสู่การที่สังคมจะเข้าใจทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ในแง่มุมที่หลากหลายกว้างขวางและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่แนวทางของการทำวิจัยใหม่ๆ ทั้งทางด้านการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาก็จะได้ความรู้ใหม่ที่มาจากวิทยาศาสตร์ อันเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวนี้

การประชุมครั้งก่อนๆของกลุ่มสนทนาฯ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ กำเนิดของจักรวาล และโครงสร้างทางฟิสิกส์และเคมีของสสาร แต่ในครั้งนี้ หัวข้อจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับจิต การรู้สำนึก และสมอง

นอกจากนี้ การศึกษาค้นคว้าเรื่องจิตกับสมอง ก็มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับปัญหาเรื่องการมีชีวิตอยู่กับการตาย ปัญหาสำคัญก็คือปัญหาว่า เกิดอะไรขึ้นแก่จิตเมื่อร่างกายตายไปแล้ว ซึ่งปัญหานี้มีพูดถึงในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆอย่างละเอียด แต่วิทยาศาสตร์กลับไม่พูดถึงเลย

การสนทนานี้ก็จะเป็นการเปิดประเด็นอภิปรายในหัวข้ออันน่าสนใจยิ่งนี้ ผลพวงประการหนึ่งของการอภิปรายนี้ก็คือว่า เราควรจะเตรียมตัวตายอย่างไร ผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับความตายควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร และบุคลากรสาธารณสุขที่ต้องดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ ควรมีหลักการในการปฏิบัติอย่างไรบ้าง

ด้วยเหตุนี้ การประชุมเรื่อง “จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” จึงเป็นการเปิดประเด็นการสนทนาแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนา

คำถามสำคัญที่จะมาอภิปรายแลกเปลี่ยนกันก็มีเช่น “จิตกับสมองสัมพันธ์กันอย่างไร” “กระบวนการทางประสาทสรีรวิทยามีอิทธิพลอย่างไรต่อจิตและวิญญาณ (การรับรู้)” “คำสอนของพระพุทธศาสนามีที่ตรงกันหรือต่างจากผลการวิจัยของวิทยาศาสตร์ประการใดบ้าง” “เกิดอะไรขึ้นแก่จิตและการรับรู้เมื่อร่างกายตายไป” “การปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมตัวตายควรจะทำอย่างไร” “กายกับจิตสัมพันธ์กันอย่างไร” “จิตกับภาษาสัมพันธ์กันอย่างไร” และคำถามอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อความสำคัญของจิตและมิติของจิตกับการรู้สำนึกในด้านต่างๆ

2.เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและผลการวิจัยเกี่ยวกับจิต สมองและวิญญาณ ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักวิชาการพระพุทธศาสนากับผู้ปฏิบัติธรรม

3.เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และการประสานพุทธธรรมกับโลกสมัยใหม่

4.พัฒนาแนวทางการวิจัย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และพระพุทธศาสนา อันเป็นผลจากการประสานแนวคิดเข้าด้วยกัน



บรรยายพิเศษ

1.ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา (คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

2.ศ. นพ. ประสาน ต่างใจ (โครงการจิตวิวัฒน์)

3.ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

4.คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย (สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี)

5.อาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน (นักวิชาการอิสระ)

6.รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (มูลนิธิพันดารา)

7.อาจารย์มิว เยินเต็น (มูลนิธิพันดารา)



การบรรยายพิเศษ “The Japanese Mind as Reflected in the Use of Honorifics”

Prof. Sachiko Ide (President, International Pragmatic Association; Professor Emaritus,

Japan Women’s University, Tokyo)



การสนทนา “จิต กายกับตัวตนในวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา”

1.ศ. ดร. สมภาร พรมทา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

2.ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ (สถาบันสหสวรรษ)

3.ศ. นพ. อนันต์ ศรีเกียรติขจร (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

4.รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ – ผู้ดำเนินการอภิปราย (ศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิพันดารา)



กิจกรรมพิเศษโดย ธนพล วิรุฬหกุล (Open Space Group)



แสดงความประสงค์เข้าร่วมงานที่ 1000tara@gmail.com; s.hongladarom@gmail.com; areeratana@cpbequity.co.th

Fax: 02 528 5308 โทร. 02 218 4756, 02 528 5308

ไม่เก็บค่าลงทะเบียน



กำหนดการ



วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551

8.15-8.45 ลงทะเบียน

8.45-10.00 ปาฐกถาพิเศษ “ขันธ์กับ cognitive sciences”

ศ. นพ. จรัส สุวรรณเวลา

10.00-10.30 พักรับประทานน้ำชา

10.30-10.45 กิจกรรมของมูลนิธิพันดารา

10.45-12.00 “จิตกับชีวิตและจักรวาล”

ศ. นพ. ประสาน ต่างใจ

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00 การเสวนาเรื่อง “จิต กาย กับตัวตนในวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา”

ผู้ดำเนินรายการ: รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

ผู้เสวนา: ศ. นพ. อนันต์ ศรีเกียรติขจร, ศ. ดร. สมภาร พรมทา, ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์

15.00-15.30 พักรับประทานน้ำชา

15.30-16.30 การสนทนาเรื่องจิตในวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา (ต่อ)



วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

9.00-10.15 “จิต วิญญาณ และพระพุทธศาสนา”

คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

10.15-10.45 พักรับประทานน้ำชา

10.45-11.45 “จิตในปรัชญาอินเดีย”

ผศ. ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

11.45-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 การบรรยายพิเศษ “The Japanese Mind as Reflected in the Use of Honorifics”

(จิตแบบญี่ปุ่นที่สะท้อนจากการใช้คำสุภาพ)

Prof. Sachiko Ide

14.30-15.00 พักรับประทานน้ำชา

15.00-16.00 “จิตกับชีวิตในพุทธศาสนาแบบจีน”

อ. เศรษฐพงษ์ จงสงวน

16.00-17.00 “จิต ชีวิต ความตาย: ทัศนะจากทิเบต”

รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์และคุณมิว เยินเต็น

17.00-17.30 การร่ายรำเพื่อการตื่นรู้และเบิกบานภายใน

คุณธนพล วิรุฬหกุล



18.00-20.00 งานเลี้ยงรับรองเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ซาชิโกะ อิเดะ



ใบลงทะเบียน

“จิตกับชีวิต: มุมมองจากพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์”

29 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ห้อง 210 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ชื่อ-นามสกุล ………………………………………………………………………………….



สถานที่ทำงาน ………………………………………………………………………………………………………..



…………………………………………………………………………………………………………………..



…………………………………………………………………………………………………………………..



โทร. ………………………………….. Email …………………………………………………………………..



«ข้าพเจ้าขอแสดงความจำนงเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้



กรุณาส่งใบลงทะเบียนดังกล่าวมาที่ รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรสาร 02 218 4755 ภายในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551